KTC Profile

Address : 37/8 M.3 Phahonyothin-Lamlukka Rd.

T.Lardsawai A.Lamlukka Pathum thani 12150

Tel. (662) 9945418 / 9986377 Fax. (662) 9986376

E-mail; ktctestingcenter@gmail.com


My memory

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คุณรู้จักตัวคุณเองมากแค่ไหน ?

     มารู้จักตัวเอง หรือมองคนอื่นให้ออกดีกว่า เพราะจริง ๆ ภาพของคนที่ทำงานอย่างแข็งขันก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นคนมั่นใจในตัวเอง อาจเป็นแค่การสร้างภาพปิดทับความทุกข์กังวลของตัวเองก็ได้ คนขาดความมั่นใจหรือไม่รักตัวเอง สังเกตได้ตามนิสัยต่อไปนี้



- ปิดบังตัวตนไว้ภายใน เป็นประเภทแสดงออกว่าตนเองมีความมั่นใจในตนเอง ประสบความสำเร็จ แต่จริง ๆ กลัวมากว่าสักวันตัวตนที่แท้จริงของตนจะมีคนรู้ คนประเภทนี้มักติดอยู่กับความคิดสมบูรณ์แบบ การแข่งขันแก่งแย่ง และกลัวการสูญเสีย

- ต่อต้านผู้อื่น เป็นประเภทไม่สนใจความคิดเห็นของคนอื่น มักขัดแย้งกับผู้บริหารหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วทำเพราะรู้สึกโกรธตนเองที่ทำอย่าง ไรก็รู้สึกไม่พอ ไม่มีความสุข


- คิดว่าเป็นผู้แพ้เสมอ เอาความทุกข์หรือความลำบากของตนมาเป็นเกราะ หรือข้ออ้างสำหรับตนเอง คนประเภทนี้มักพึ่งพาแต่ผู้อื่น และมักจะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ต่ำกว่าที่คาดหวังไว้เรื่อยไป


- คิดแบบเหมารวม หากเคยผิดพลาดหรือล้มเหลวครั้งหนึ่งแล้ว ก็คิดว่าครั้งต่อ ๆ ไปก็จะพลาดไปตลอด


- ประเมินมาตรฐานตนเองต่ำเกินไป แทนที่จะพูดถึงคุณสมบัติด้านดีที่แท้จริงของตน ก็ยกข้อเสียมาอ้าง บั่นทอนภาพลักษณ์ตนเองเสียหมด


- คิดแบบสุดโต่ง คนประเภทนี้คิดอยู่เพียงสองด้าน นั่นคือ ถ้าไม่ดีสมบูรณ์ พร้อม ก็ไร้ค่าไม่เคยมีความคิดแบบทางสายกลาง


- โทษแต่ตัวเอง มักกล่าวโทษตัวเองสม่ำเสมอ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดของตนเอง


- ช่างเปรียบเทียบ มักเอาข้อด้อยตนเองไปเปรียบเทียบกับข้อดีของคนอื่น ๆ เป็นประจำ ทำให้ตนรู้สึกแย่มากขึ้น


- คิดไปเองคนเดียว ชอบสรุปว่าคนนั้น คนนี้ไม่สนใจ โกรธ เกลียดตนเอง ฯลฯ ซึ่งไม่มีมูลจริงเท็จว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะคิดแบบนี้ หรือคาดหวังว่าทุกสิ่งที่ทำจะเป็นไปอย่างที่คิดทุกประการ


- แบกทุกอย่างไว้บนบ่า รู้สึกว่าตนเองต้องรับผิดชอบ จัดการทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่สามารถควบคุมได้ ก็จะรู้สึกว่าตนเองโดนลงโทษ โดนแกล้ง


ถ้าพบว่ามีนิสัยตามที่กล่าวมาข้างต้น อย่าคาดหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงนิสัยเหล่านี้ได้ในข้ามวัน มาค่อย ๆ ช่วยกันสร้างความคิดดี ๆ ให้แก่ตัวเองดีกว่า


1. อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น หลักการง่าย ๆ แต่หลายคนก็ยังทำใจแข็งไม่ได้เสียที วิธีแก้คือ ต้องทำใจยอมรับตัวตนของเราที่ไม่อาจเปลี่ยน แปลงได้ เช่น สีผิว รูปร่าง ฯลฯ ทุกคนเกิดมาย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจงรักตนเอง ภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นดีที่สุด

2. จงเปรียบกับคนที่ด้อยกว่า สำหรับคนที่กำลังท้อแท้ คิดว่าตนเองแย่ที่สุดแล้ว ให้หันมามองผู้ที่ลำบากกว่า หรือจะลองเป็นอาสาสมัครไปเยี่ยมผู้ยากไร้ขาดโอกาสดูบ้างก็ได้ เพราะการทำเช่นนี้นอกจากจะสร้างกำลังใจให้ตนเองต่อสู้กับความยากลำบากแล้ว ยังได้บุญกุศลอีกด้วย


3. ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ไม่ควรคิดว่าไม่มีใครเข้าใจปัญหาของเรา หรือไม่มีใครสนใจ อันที่จริงหากเรามองไปรอบด้าน ก็จะเห็นว่าหลายคนยินดีที่จะช่วยเหลือเรา เพียงแต่ว่าเราไม่ได้เอ่ยปากขอร้องเท่านั้นเอง แน่นอนว่าหากเราตกที่นั่งลำบาก และสิ่งที่ขอให้ช่วยก็ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงนัก เชื่อว่ามีคนเต็มใจช่วยแน่นอนค่ะ


4. พูดคุยกับเพื่อน เมื่อไรที่มีปัญหาหนักใจ อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนสนิท หรือว่าหากเกิดขัดใจกันขึ้นมา อย่าลังเลที่จะเปิดอกพูดคุยกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นปัญหาคาใจ


5. ปรึกษานักบำบัด หากพบว่าตนพยายามแก้ไขวิธีคิดแล้ว แต่ไม่สำเร็จสักที ให้นัดเวลาพูดคุยกับนักบำบัด หรือจิตแพทย์ก็ได้ ไม่ต้องกลัวหรืออายว่าคนอื่นจะหาว่าบ้า เพราะหากปล่อยให้กังวลใจอยู่เช่นนี้ สุขภาพจิตเสียแน่นอน


6. ให้รางวัลตนเอง หลังจากที่ผ่านงานยาก ๆ หรืออุปสรรคหนัก ๆ เช่น ไปท่องเที่ยวพักผ่อน นัดสังสรรค์กับเพื่อนรู้ใจ


7. เก็บความภูมิใจลงในบันทึก ให้จดบันทึกข้อดี ลักษณะเด่น ความสามารถ พิเศษ หรือความสำเร็จที่ตนเองภาคภูมิใจลงบนไดอารี่ หรือสมุดจด อาจทำเครื่อง หมายเน้นผลงานที่ทำสำเร็จ เพราะเมื่อไรที่หยิบมาอ่านจะได้ชื่นใจ เกิดความภูมิใจในความสามารถของตนเอง หรืออาจใช้วิธีประเมินตนเองอย่างยุติธรรม โดยจดสิ่งที่ตนทำสำเร็จในแต่ละวัน แล้วประเมินอาทิตย์ละครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง


8. เสริมจุดเด่นลดจุดด้อย อย่าลังเลที่จะเรียน หรือทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ ไม่แน่คุณอาจจะมีพรสวรรค์บางอย่างซ่อนอยู่แบบไม่รู้ตัวมาก่อนก็ได้


9. พยายามทำกิจกรรมที่ตนชื่นชอบ ไม่ต้องกังวลว่าต้องไปตามลำพัง ตราบใดที่ยังชอบและมีความสุขกับกิจกรรมนั้น ๆ เช่น ไปเรียนวาดรูป เรียนภาษาต่างประเทศ ฯลฯ นอกจากจะทำให้จิตใจแจ่มใส ยังอาจจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ เจอคนหลากหลายมากขึ้น


10. อย่าโทษตัวเองไปเสียทุกเรื่อง ปรับวิธีคิดให้มีเหตุและผลมากขึ้นกว่าเดิม


11. เผชิญหน้ากับการว่ากล่าว การว่ากล่าวนับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่สำหรับคนที่ขาดความมั่นใจจะเกิดอาการสะเทือนใจมากกว่าคนอื่น เพื่อจะลบความรู้สึกนี้ก่อนอื่นต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการว่ากล่าว เช่น ติเพื่อก่อ หรืออคติ หากเข้าข่ายประเด็นหลัง อย่าเก็บมาใส่ใจ เพราะจะยิ่งบั่นทอนความมั่นใจให้ลดน้อยลงไปอีก แต่หากเป็นเหตุผลแรก ให้ยิ้มสู้ รับฟังและกล่าวขอบคุณ นำคำตินั้นมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง


12. ดูแลสุขภาพตนเอง พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ รักษาความสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วิธีดูแลตนเองเช่นนี้นอกจากจะให้บุคลิกภาพดูดีขึ้นแล้ว ยังทำให้จิตใจแจ่มใสอีกด้วย ไม่ให้จิตใจจดจ่อ หมกมุ่นอยู่กับข้อด้อยของตนเองมากไป

อ้างอิงโดย http://www.vcharkarn.com/vblog/39527


วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

International crane signal chart (มาตรฐานการให้สัญญาณเครน)

International crane signal chart
(มาตรฐานการให้สัญญาณเครน)

IMPORTANT : สำคัญมากสำหรับงานยกชิ้นงาน
3_use_main_hoist 
1. สัญญาณสั่งให้ใช้รอกใหญ่ (Use main hoist)

กำมือข้างใดข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือศีรษะ

แล้วเคาะเบาๆ บนหมวกนิรภัยของตนเอง

ต่อเนื่องหลายๆครั้ง

4_use_whipline
2. สัญญาณสั่งให้ใช้รอกช่วย (Use single rope / Whip line / Auxiliary hoist)

งอข้อศอกข้างใดข้างหนึ่งขึ้น กำมือระดับไหล่

ยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่ง

แตะที่ข้อศอก จากนั้นใช้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ

7_move_slowly
3. สัญญาณสั่งให้ยกชิ้นงานขึ้นช้าๆ (Slowly raise load / Slowly hoist)

ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งขึ้น แล้วคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง

โดยยื่นออกจากลำตัวพอประมาณ แล้วใช้นิ้วชี้ของมือ

อีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือและหมุนช้าๆ

Crane Hand Signals - Hoist
4. สัญญาณสั่งให้ยกชิ้นงานขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือขึ้นสลิงเบา (Raise load)

ให้งอข้อศอกด้านใดด้านหนึ่งขึ้น ใช้นิ้วชี้ ชี้ขึ้น

แล้วหมุนเป็นวงกลมอย่างต่อเนื่อง

2_lower
5. สัญญาณสั่งให้ยกชิ้นงานลงอย่างต่อเนื่องหรือลงสลิงเบา (Lower load )

กางแขนข้างใดข้างหนึ่งออกเล็กน้อย

ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงพื้นแล้วหมุนเป็นวงกลม

crane-hand-signals-lower-boom
6. สัญญาณสั่งให้ลดแขนเครนลง (Lower boom)

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุดแขน

แล้วกำมือชี้หัวแม่มือลงแล้วยกแขน

ขึ้น – ลงเป็นจังหวะ อย่างต่อเนื่อง

crane-hand-signals-raise-boom
7. สัญญาณสั่งให้ยกระดับแขนเครนขึ้น (Raise boom)

เหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกสุดแขน

แล้วกำมือยกหัวแม่มือขึ้นแล้วยกแขน

ขึ้น – ลงเป็นจังหวะ อย่างต่อเนื่อง

8_raise_boom_lower_load
8. สัญญาณสั่งให้ยกแขนเครนขึ้น / ลดสลิงลง

(Raise boom and lower load)


9_lower_boom_raise_load
9.สัญญาณสั่งให้เครนลดระดับบูมลง สลิงเลื่อนขึ้น

(Lower boom and raise load)

extendboom      
10. สัญญาณสั่งให้เครนถอดก้านบูมออก (Extend boom)

Retract Boom
11.สัญญาณสั่งให้เครนเก็บก้านบูมเข้า (Retract boom)
EXTEND BOOM ONE HAND
12.สัญญาณสั่งให้เครนถอดก้านบูมออก ด้วยมือเดียว
ใช้หัวแม่โป้งชี้เข้าหาตัวเอง ส่วนมือที่เหลือให้ควบคุมเชือกเอาไว้
(Extend boom by one hand.Another your hand kept hold on tag-line)

RETRACT BOOM(ONE HAND)
13.สัญญาณสั่งให้เครนเก็บก้านบูมออก ด้วยมือเดียว

ใช้หัวแม่โป้งชี้ออกจากตัวเอง ส่วนมือที่เหลือให้ควบคุมเชือกเอาไว้
(Retract boom by one hand.Another your hand kept hold on tag-line)

Dog Everything
14.สัญญาณสั่งให้เครนทำการล็อคสลิง (Doging anything)

Travel
15. สัญญาณสั่งให้เครนทำการเคลื่อนที่เครนล้อแทรค (Traveling tract)

SWING
16.สัญญาณสั่งให้เครนสวิงบูมไปตามทิศทางที่ต้องการ (Swing boom)

STOP
17. สัญญาณสั่งให้เครนหยุดเบรคกิ้งหรือหยุดชั่วขณะ (Stop breaking)

EMERGENCY STOP
18. สัญญาณสั่งให้เครนหยุดการทำงานอย่างฉุกเฉิน
หรือสิ้นสุดการปฏิบัติงาน (Emergency stop)

For more information
http://www.maxboom.com/Members_Only/handsignals.html
http://www.craneblogger.com/crane-resource-library/crane-hand-signals/
http://www.ccohs.ca/oshanswers/safety_haz/materials_handling/signals.html