KTC Profile
Address : 37/8 M.3 Phahonyothin-Lamlukka Rd.
T.Lardsawai A.Lamlukka Pathum thani 12150
Tel. (662) 9945418 / 9986377 Fax. (662) 9986376
E-mail; ktctestingcenter@gmail.com
T.Lardsawai A.Lamlukka Pathum thani 12150
Tel. (662) 9945418 / 9986377 Fax. (662) 9986376
E-mail; ktctestingcenter@gmail.com
My memory
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงด้านวิชาการกลศาสตร์ ฟิสิกส์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/index.htm
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/index.htm
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
Aluminium Partition
อะลูมิเนียม (ภาษาอังกฤษสะกดได้ว่า aluminium หรือ aluminum ในอเมริกาเหนือ) คือธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Al และมีเลขอะตอม 13 เป็นโลหะทรานซิชันที่มันวาวและอ่อนดัดง่าย ในธรรมชาติอะลูมิเนียมพบในรูปแร่บอกไซต์เป็นหลัก และมีคุณสมบัติเด่น คือ ต่อต้านการออกซิเดชันเป็นเยี่ยม (เนื่องจากปรากฏการณ์ passivation) แข็งแรง และน้ำหนักเบา มีการใช้อะลูมิเนียมในอุตสาหกรรมหลายประเภท เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย และอะลูมิเนียมสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ผลิตจากอะลูมิเนียมสำคัญต่ออุตสาหกรรมอากาศยาน และสำคัญในด้านอื่น ๆ ของการขนส่งและการสร้างอาคาร ซึ่งต้องการน้ำหนักเบา ความทนทาน และความแข็งแรง
อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่อ่อนและเบาที่มีลักษณะไม่เป็นเงา เนื่องจากเกิดการออกซิเดชันชั้นบาง ๆ ที่เกิดขึ้นเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศ โลหะอะลูมิเนียมไม่เป็นสารพิษ ไม่เป็นแม่เหล็ก และไม่เกิดประกายไฟ อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงประมาณ 49 ล้านปาสกาล (MPa) และ 400 MPa ถ้าทำเป็นโลหะผสม อะลูมิเนียมมีความหนาแน่นเป็น 1/3 ของเหล็กกล้าและทองแดง อ่อน สามารถดัดได้ง่าย สามารถกลึงและหล่อแบบได้ง่าย และมีความสามารถต่อต้านการกร่อนและความทนเนื่องจากชั้นออกไซด์ที่ป้องกัน พื้นหน้ากระจกเงาที่เป็นอะลูมิเนียมมีการสะท้อนแสงมากกว่าโลหะอื่น ๆ ในช่วงความยาวคลื่น 200-400 nm (UV) และ 3000-10000 nm (IR ไกล) ส่วนในช่วงที่มองเห็นได้ คือ 400-700 nm โลหะเงินสะท้อนแสงได้ดีกว่าเล็กน้อย และในช่วง 700-3000 (IR ใกล้) โลหะเงิน ทองคำ และทองแดง สะท้อนแสงได้ดีกว่า อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ดัดได้ง่ายเป็นอันดับ 2 (รองจากทองคำ) และอ่อนเป็นอันดับที่ 6 อะลูมิเนียมสามารถนำความร้อนได้ดี จึงเหมาะสมที่จะทำหม้อหุงต้มอาหาร
เมื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน
อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง
เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง
อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass). กระจกเงาในกล้องโทรทรรศน์สร้างด้วยอะลูมิเนียมเช่นกัน แต่เคลือบข้างหน้าเพื่อป้องกันการสะท้อนภายใน การหักเห และการสูญเสียจากความใส กระจกเหล่านี้เรียกว่า first surface mirrors และเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่ากระจกเงาตามบ้านทั่วไปที่เคลือบข้างหลัง
ตัวอย่างการนำเอาอะลูมิเนียมไปใช้งาน เช่น
- การขนส่ง (รถยนต์ เครื่องบิน รถบรรทุก ตู้รถไฟ เรือทะเล จักรยาน ฯลฯ)
- ภาชนะ (กระป๋อง, ฟอยล์ ฯลฯ)
- การบำบัดน้ำ
- การรักษาปรสิตของปลา เช่น Gyrodactylus salaris
- งานก่อสร้าง (หน้าต่าง ประตู รางข้าง ลวด ฯลฯ)
- สินค้าสำหรับผู้บริโภคที่มีความคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ครัว ฯลฯ)
- ไฟฟ้าไฟฟ้า (ชิ้นส่วนและลวดอะลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อยกว่าทองแดง และราคาถูกกว่าด้วย [1] แต่มีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าด้วย มีหลายพื้นที่ ที่ห้ามใช้ลวดอะลูมิเนียมสำหรับสายไฟตามบ้าน เนื่องจากความหนาแน่นสูงกว่าและขยายในความร้อนมากกว่า)
- เครื่องจักรกล
- แม่เหล็กที่ทำจากเหล็กกล้าเอ็มเคเอ็ม (MKM steel) แอลไนโก (Alnico) แม้ว่าตัวอะลูมิเนียมเองจะใช้วัตถุแม่เหล็กก็ตาม
อะลูมิเนียมความบริสุทธิ์สูง (SPA ย่อจาก Super purity aluminium, 99.980% to 99.999% Al) ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์และซีดี.
อะลูมิเนียมผง ใช้เป็นตัวเคลือบเงินในสี เกล็ดอะลูมิเนียมมีอยู่ในสีพื้น เช่น สีเคลือบเนื้อไม้ (primer) — เมื่อแห้ง เกล็ดจะซ้อนทับกันเป็นชั้นกันน้ำ
อะลูมิเนียมแอโนไดส์ (anodised) คงทนต่อการออกแซิเดชั่นเพิ่มเติม และใช้ในการก่อสร้างในด้านต่าง ๆ รวมถึงการทำฮีตซิงก์ ด้วย
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่ต้องทำความเย็นของชิ้นส่วนภายใน (เช่น ทรานซิสเตอร์ ซีพียู - สารกึ่งตัวนำโดยทั่วไป) มีฮีตซิงก์ที่ทำจากอะลูมิเนียม เนื่องจากผลิตง่าย และนำความร้อนได้ดี ฮีตซิงก์ทองแดงเล็กกว่า แต่แพงกว่าและผลิตยากกว่าด้วย
อะลูมิเนียมออกไซด์ หรือ อะลูมินา, พบในธรรมชาติในรูปของแร่กะรุน (ทับทิม และนิล), และใช้ในการผลิตกระจก ทับทิมและนิลสังเคราะห์ใช้ในเครื่องเลเซอร์ เพื่อผลิตแสงความถี่เดียว (coherent light)
อะลูมิเนียมออกซิไดส์ด้วยพลังงานสูง ทำให้ใช้ในเชื้อเพลิงแข็งสำหรับจรวด เธอร์ไมต์ (thermite) และสารประกอบอื่น ๆ สำหรับทำดอกไม้ไฟ
นอกจากนี้ อะลูมิเนียมยังเป็นตัวนำยิ่งยวด ที่อุณหภูมิวิกฤต 1.2 องศาเคลวิน
อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่อ่อนและเบาที่มีลักษณะไม่เป็นเงา เนื่องจากเกิดการออกซิเดชันชั้นบาง ๆ ที่เกิดขึ้นเร็วเมื่อสัมผัสกับอากาศ โลหะอะลูมิเนียมไม่เป็นสารพิษ ไม่เป็นแม่เหล็ก และไม่เกิดประกายไฟ อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงประมาณ 49 ล้านปาสกาล (MPa) และ 400 MPa ถ้าทำเป็นโลหะผสม อะลูมิเนียมมีความหนาแน่นเป็น 1/3 ของเหล็กกล้าและทองแดง อ่อน สามารถดัดได้ง่าย สามารถกลึงและหล่อแบบได้ง่าย และมีความสามารถต่อต้านการกร่อนและความทนเนื่องจากชั้นออกไซด์ที่ป้องกัน พื้นหน้ากระจกเงาที่เป็นอะลูมิเนียมมีการสะท้อนแสงมากกว่าโลหะอื่น ๆ ในช่วงความยาวคลื่น 200-400 nm (UV) และ 3000-10000 nm (IR ไกล) ส่วนในช่วงที่มองเห็นได้ คือ 400-700 nm โลหะเงินสะท้อนแสงได้ดีกว่าเล็กน้อย และในช่วง 700-3000 (IR ใกล้) โลหะเงิน ทองคำ และทองแดง สะท้อนแสงได้ดีกว่า อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่ดัดได้ง่ายเป็นอันดับ 2 (รองจากทองคำ) และอ่อนเป็นอันดับที่ 6 อะลูมิเนียมสามารถนำความร้อนได้ดี จึงเหมาะสมที่จะทำหม้อหุงต้มอาหาร
เมื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน
อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง
เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง
อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass). กระจกเงาในกล้องโทรทรรศน์สร้างด้วยอะลูมิเนียมเช่นกัน แต่เคลือบข้างหน้าเพื่อป้องกันการสะท้อนภายใน การหักเห และการสูญเสียจากความใส กระจกเหล่านี้เรียกว่า first surface mirrors และเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่ากระจกเงาตามบ้านทั่วไปที่เคลือบข้างหลัง
ตัวอย่างการนำเอาอะลูมิเนียมไปใช้งาน เช่น
- การขนส่ง (รถยนต์ เครื่องบิน รถบรรทุก ตู้รถไฟ เรือทะเล จักรยาน ฯลฯ)
- ภาชนะ (กระป๋อง, ฟอยล์ ฯลฯ)
- การบำบัดน้ำ
- การรักษาปรสิตของปลา เช่น Gyrodactylus salaris
- งานก่อสร้าง (หน้าต่าง ประตู รางข้าง ลวด ฯลฯ)
- สินค้าสำหรับผู้บริโภคที่มีความคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ครัว ฯลฯ)
- ไฟฟ้าไฟฟ้า (ชิ้นส่วนและลวดอะลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อยกว่าทองแดง และราคาถูกกว่าด้วย [1] แต่มีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่าด้วย มีหลายพื้นที่ ที่ห้ามใช้ลวดอะลูมิเนียมสำหรับสายไฟตามบ้าน เนื่องจากความหนาแน่นสูงกว่าและขยายในความร้อนมากกว่า)
- เครื่องจักรกล
- แม่เหล็กที่ทำจากเหล็กกล้าเอ็มเคเอ็ม (MKM steel) แอลไนโก (Alnico) แม้ว่าตัวอะลูมิเนียมเองจะใช้วัตถุแม่เหล็กก็ตาม
อะลูมิเนียมความบริสุทธิ์สูง (SPA ย่อจาก Super purity aluminium, 99.980% to 99.999% Al) ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์และซีดี.
อะลูมิเนียมผง ใช้เป็นตัวเคลือบเงินในสี เกล็ดอะลูมิเนียมมีอยู่ในสีพื้น เช่น สีเคลือบเนื้อไม้ (primer) — เมื่อแห้ง เกล็ดจะซ้อนทับกันเป็นชั้นกันน้ำ
อะลูมิเนียมแอโนไดส์ (anodised) คงทนต่อการออกแซิเดชั่นเพิ่มเติม และใช้ในการก่อสร้างในด้านต่าง ๆ รวมถึงการทำฮีตซิงก์ ด้วย
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่ต้องทำความเย็นของชิ้นส่วนภายใน (เช่น ทรานซิสเตอร์ ซีพียู - สารกึ่งตัวนำโดยทั่วไป) มีฮีตซิงก์ที่ทำจากอะลูมิเนียม เนื่องจากผลิตง่าย และนำความร้อนได้ดี ฮีตซิงก์ทองแดงเล็กกว่า แต่แพงกว่าและผลิตยากกว่าด้วย
อะลูมิเนียมออกไซด์ หรือ อะลูมินา, พบในธรรมชาติในรูปของแร่กะรุน (ทับทิม และนิล), และใช้ในการผลิตกระจก ทับทิมและนิลสังเคราะห์ใช้ในเครื่องเลเซอร์ เพื่อผลิตแสงความถี่เดียว (coherent light)
อะลูมิเนียมออกซิไดส์ด้วยพลังงานสูง ทำให้ใช้ในเชื้อเพลิงแข็งสำหรับจรวด เธอร์ไมต์ (thermite) และสารประกอบอื่น ๆ สำหรับทำดอกไม้ไฟ
นอกจากนี้ อะลูมิเนียมยังเป็นตัวนำยิ่งยวด ที่อุณหภูมิวิกฤต 1.2 องศาเคลวิน
Scaffolding / Rigging
This is Basic of Scaffolding and Rigging practices course
We have providing some worker to trained as qualification worker
The most of training program is has obseveral any hazards for a few matter all times
We here perparing for you / Let you to visit us / Welcome
คู่มือประกอบการเรียน
สาขา การก่อสร้างเบื้องต้น
ตำแหน่ง ช่างประกอบนั่งร้าน
(Scaffolding Basic fitter)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับกฏหมายที่ใช้ควบคุมงานนั่งร้าน
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาสาระของวิชาชีพงานติดตั้งนั่งร้านอย่างละเอียด และสามารถทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนได้
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจในการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือ
ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการจัดเก็บที่ถูกวิธี
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้านอย่างถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งระบบการทำงานบนที่สูง
5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เพิ่มทักษะเกี่ยวกับการติดตั้งร้านทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปปฏิบัติงานได้ เมื่อได้รับการรับรองผล
ระยะเวลาในการฝึกอบรม ( 120 ชั่วโมง )
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอน ทางภาคทฤษฎี ไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอน ภาคภาษาอังกฤษ (ศัพท์เทคนิคเชิงช่าง) ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวนั่งร้าน ไม่ต่ำกว่า 100 ชั่วโมง
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอนเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยในการทำงานนั่งร้านบนที่สูง” อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง
5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการทดสอบฝีมือเพื่อรับรองผล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปในงานก่อสร้างเบื้องต้น
2. จะต้องเป็นผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ไม่มีปัญหาเรื่อง สายตา การได้ยิน เป็นต้น
3. จะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาทางด้านความดันโลหิต(โรควูบ) และสภาพร่างกายโดยรวม
4. จะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาทางด้านจิตใจอย่างร้ายแรง
5. จะต้องเป็นผู้ที่มีความสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ได้อย่างชัดเจนต่อการปฏิบัติงาน
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนั่งร้าน
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ “บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับงานนั่งร้าน”
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2508)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้กำหนดวิชาชีพวิศวกรรมในสาขา แขนง และขนาด ดังต่อไปนี้ เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขา 1 วิศวกรรมโยธา
1. งานออกแบบและคำนวณ หมายถึง การใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมโยธา เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง โดยแสดงเป็นแบบรูป ข้อกำหนด และประมาณการ
2. งานควบคุมการก่อสร้าง หมายถึง การอำนวยการควบคุมดูแลการก่อสร้าง ในสาขาวิศวกรรมโยธา ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบรูป และข้อกำหนด
3. งานพิจารณาตรวจสอบ หมายถึง การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ การหาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงานในสาขาวิศวกรรมโยธา
4. งานวางโครงการก่อสร้าง หมายถึง การวางแผนผังหรือการวางแผนงานการก่อสร้าง
ในสาขาวิศวกรรมโยธา
5. งานให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ข้อแนะนำ และหรือการตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ตาม 1, 2, 3 หรือ 4
งานในสาขาวิศวกรรมโยธาดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภท
ดังต่อไปนี้
(1) อาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างห่างจากทางสาธารณะไม่เกินสิบสี่เมตร
(2) โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าเพลาขึ้นไป
(3) อาคารถาวรที่ใช้เป็นอาคารสาธารณะหรือเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลจำนวนมาก เช่น
โรงมหรสพ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ภัตตาคาร หอประชุม หอสมุด อาคารแบบแฟลต หรืออาคารอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(4) สะพานที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อช่วงให้ช่วงหนึ่งยาวตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
(5) ท่าสำหรับเทียบเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่หนึ่งร้อยตันขึ้นไป
(6) อู่เรือหรือคานเรือ สำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ห้าสิบตันขึ้นไป
(7) เขื่อนกั้นน้ำที่ต้องรับความดันของน้ำหลังเขื่อนที่มีความลึกตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
(8) กำแพงกันดินที่ต้องรับความดันของดินหลังกำแพงที่มีความสูงตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
(9) โครงสร้างสำหรับรองรับถังน้ำ ถังน้ำมัน หรือสำหรับใช้ในการรับส่งวิทยุหรือ
โทรทัศน์ หรือใช้ในการอื่นใดที่มีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป เว้นแต่โครงสร้าง
ชั่วคราว ที่ใช้กับกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
(10) ปล่องไฟหรือเสาที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ และมีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป เว้นแต่ปล่องไปหรือเสาที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ชั่วคราว
(11) ถังเก็บของไหล เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำมัน ที่มีความจุตั้งแต่หนึ่งร้อยลูกบาศก์เมตรขึ้นไป
(12) ทางรถไฟ หรือทางรถราง ซึ่งมีความยาวตั้งแต่สิบกิโลเมตรขึ้นไป
(13) ทางประเภททางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
(14) สนามบิน ทางวิ่ง หรือลานจอดเครื่องบิน
(15) อุโมงค์สาธารณะ
(16) สระว่ายน้ำสาธารณะ
(17) งานผลิตน้ำประปาสำหรับประชาชนที่มีปริมาณการผลิตตั้งแต่หนึ่งพันลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2508)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพควบคุมตามประเภท และสาขาที่
ได้ ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
สาขา 1 วิศวกรรมโยธา
ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาวิศวกรรมโยธาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ได้ดังต่อไปนี้
ก. ภาคีวิศวกร
1. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 1 (1) เฉพาะอาคารสามชั้น
2. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 2 (1) ถึง (17)
3. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 3 (1) ถึง (17)
ข. สามัญวิศวกร
งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 1, 2, 3 และ 4 ทั้งนี้ตั้งแต่ (1) ถึง (17)
ค. วุฒิวิศวกร
งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธาทุกอย่าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515
จึงเห็นสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2519
เพื่อกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความ ปลอดภัยสำหรับลูกจ้างในงานก่อสร้างได้เป็นไปโดยเหมาะสมยิ่งขึ้น
กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2519
ข้อ 2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน”
ข้อ 3 ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 4 ในประกาศนี้
“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง
ท่าเรือ ทางน้ำ ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม
ซ่อมแซม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย
“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
“นั่งร้าน” หมายความว่า ที่ปฏิบัติงานซึ่งจัดไว้สูงจากพื้นดิน หรือส่วนของอาคาร หรือส่วนของงานก่อสร้าง
สำหรับเป็นที่รองรับของผู้ปฏิบัติงาน และ หรือวัสดุในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว
“นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว” หมายความว่า นั่งร้านซึ่งมีที่ปฏิบัติงานเป็นคานยึดติดกับเสาแถวเดี่ยว
ข้อ 5 ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่
(1) งานก่อสร้างอาคารที่ใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่และมีความสูงจากพื้นดินถึงคานรับหลังคา ไม่เกิน 7.00 เมตร
(2) งานซ่อมแซม หรือตกแต่งอาคาร โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานคราวละไม่เกินสองคน
(3) งานติดตั้งประปา ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อื่นๆ โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานนั้นคราวละไม่เกินสองคน
หมวด 1
งานก่อสร้าง
ข้อ 6 การทำงานก่อสร้างซึ่งมีความสูงเกิน 2.00 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านสำหรับการก่อสร้างงานนั้น
หมวด 2
แบบนั่งร้าน
ข้อ 7 นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวที่สูงเกิน 7.00 เมตรขึ้นไป หรือนั่งร้านที่สูงเกิน 21.00 เมตรขึ้นไป
นายจ้างต้องจัดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว กำหนด
เป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน
ข้อ 8 นั่งร้านเสาเรียงเดียวที่สูงไม่เกิน 7.00 เมตร หรือนั่งร้านที่สูงไม่เกิน 21.00 เมตร
นายจ้างต้องจัดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว. กำหนด
เป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน หรือจะใช้ตามนั่งร้านมาตรฐานประเภทต่างๆ ตามกำหนดในข้อ 12 ก็ได้
ข้อ 9 ในกรณีที่นายจ้างจะให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ ก.ว.
กำหนดเป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน อย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ต้องใช้ไม้ที่ไม่ผุเปื่อย ไม่มีรอยแตกร้าวหรือชำรุดอื่นๆ
ที่จะทำให้ไม้ขาดความแข็งแรงทนทาน
และจะต้องมีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสี่เท่าของแรงดัดประลัย เว้นแต่ไม้ที่ใช้เป็นไม้ไผ่
ต้องมีหลักฐานเอกสารในการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุที่จะใช้จากสถาบันที่ทางราชการเชื่อถือได้
มีส่วนปลอดภัยเพียงพอ และให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 11 (6)
ถ้าสร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่า 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองเท่าของจุดคราก
(2) นั่งร้านต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งานสำหรับ
นั่งร้านที่สร้างด้วยโลหะและไม่น้อยกว่าสี่เท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งานสำหรับนั่งร้านที่สร้าง ด้วยไม้
(3) ที่รองรับนั่งร้านต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งาน
(4) โครงนั่งร้านต้องมีการยึดโยง ค้ำยันหรือตรึงกับพื้นดิน หรือส่วนของงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันมิให้เซหรือล้ม
(5) ต้องมีราวกันตกมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 1.10 เมตร จากพื้นนั่งร้าน
ตลอดแนวยาวด้านนอกของพื้นนั่งร้าน นอกจากเฉพาะช่วงที่จำเป็นเพื่อขนถ่ายสิ่งของ ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(6) ต้องจัดให้มีพื้นนั่งร้านปูติดต่อกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร ยึดกับตงให้แน่น ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(7) ต้องจัดให้มีบันไดภายในของนั่งร้าน โดยใช้ไม้หรือโลหะ มีความเอียงลาดไม่เกิน 45 องศา ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(8) ต้องออกแบบเผื่อไว้ให้นั่งร้านสามารถรับน้ำหนักผ้าใบ สังกะสี ไม้แผ่น
หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10 และข้อ 11 (7) ด้วย
หมวด 3
การสร้างนั่งร้าน
ข้อ 10 การสร้างนั่งร้าน นายจ้างต้องดำเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 9 และตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ ถ้ายึดด้วยตะปู จะต้องใช้ตะปูขนาดและความยาวเหมาะสม
และจะต้องตอกให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับข้อต่อหนึ่งๆ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง
จะตอกตะปูในลักษณะรับแรงถอนโดยตรงมิได้ และต้องตอกให้สุดความยาวของตะปู
เมื่อรื้อนั่งร้านออก จะต้องถอนตะปูจากไม้นั่งร้านหรือตีพับให้หมด
(2) นั่งร้านที่มีการใช้ลิฟท์ขนส่งวัสดุขึ้นลง ต้องจัดให้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกนั่งร้านในระหว่างนำวัสดุขึ้นลงได้
(3) ห้ามมิให้สร้างนั่งร้านยึดโยงกับหอลิฟท์
(4).ต้องจัดให้มีผ้าใบ หรือสังกะสี หรือไม้แผ่น หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันปิดรอบนอกของนั่งร้าน
ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของตก
(5).เหนือช่องที่กำหนดให้เป็นทางเดินต้องปิดคลุมด้วยผ้าใบ หรือสังกะสี หรือไม้แผ่น หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกัน
เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินนั้น
หมวด 4
การใช้นั่งร้าน
ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดให้มีการใช้นั่งร้านเป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) ถ้านั่งร้านส่วนใดชำรุด หรือน่าจะเป็นอันตรายต่อการใช้นั่งร้านนั้น ต้องทำการซ่อมแซมส่วนนั้นทันที
และห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านส่วนนั้นจนกว่าจะซ่อมแซมเสร็จ
(2) ในขณะมีพายุ ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน
(3) กรณีที่พื้นนั่งร้านลื่น ห้ามมิให้ใช้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านส่วนนั้น
(4) ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม ต้องไม่ให้ใกล้เกินระยะที่กำหนดไว้
สำหรับแรงดันแต่ละระดับข้างล่างนี้ ทั้งในแนวระดับและแนวดิ่ง
เว้นแต่นายจ้างจะได้จัดให้มีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้านั้น เช่น ใช้ฉนวนหุ้มที่เหมาะสม
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 50 โวลท์ ถึง 12,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 12,000 โวลท์ ถึง 33,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.30 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 33,000 โวลท์ ถึง 69,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 69,000 โวลท์ ถึง 115,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 5.30 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 115,000 โวลท์ ถึง 230,000 โวลท์
ในกรณีที่มีการทำงานแบบนั่งร้านหลายๆ ชั้นพร้อมกัน ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ทำงานอยู่ชั้นล่างได้
(5) ในกรณีที่ใช้สารเคมีที่มีปฏิกิริยาทำให้เชือกหรือปอที่ผูกหรือมัดนั่งร้านเสื่อมคุณภาพได้
เช่น การใช้โซดาไฟบนนั่งร้านเพื่อทำความสะอาดภายนอกอาคาร ห้ามมิให้ใช้นั่งร้านที่ผูกหรือมัดด้วยเชือก หรือปอ
(6) ในกรณีที่ใช้มาตรฐานนั่งร้านประเภทต่างๆ ตามกำหนดในข้อ 12 ห้ามมิให้ใช้น้ำหนักบรรทุกนั่งร้าน
โดยเฉลี่ยเกินกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระหว่างช่องเสา
สำหรับนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว ห้ามมิให้ใช้น้ำหนักบรรทุกบนนั่งร้านแต่ละชั้น
โดยเฉลี่ยแล้วเกินกว่า 50 กิโลกรัมต่อความยาว 1.00 เมตร
หมวด 5
นั่งร้านมาตรฐาน
ข้อ 12 นั่งร้านที่สูงไม่เกิน 21.00 เมตร และนายจ้างมิได้ให้ผู้ที่
ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว.กำหนด เป็นผู้ออกแบบนั่งร้าน
นายจ้างต้องจัดทำนั่งร้านให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามที่ระบุไว้ในข้อ 9 และข้อ 10
กับข้อกำหนดสำหรับนั่งร้านมาตรฐานประเภทต่างๆ ดัง ต่อไปนี้
(1) ประเภทนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว สูงไม่เกิน 7.00 เมตร สำหรับปฏิบัติงานทาสี
(ก) ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำนั่งร้าน ไม่ไผ่ทุกลำจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 เซนติเมตร วัดตรงกลางท่อน
การต่อไม้ไผ่ให้ต่อทาบ มีความยาวของส่วนที่ทาบนั้นไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
มัดให้ติดกันด้วยวิธีขันชะเนาะไม่น้อยกว่าสองเปลาะ เชือกหรือปอที่ใช้สำหรับผูกลำ
ไม้ไผ่จะต้องเป็นเชือกหรือปอใหม่มีความเหนียวพอสมควร และจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
การตั้งเสาไม้ไผ่ ให้ตั้งห่างกันไม่เกิน 1.50 ไม้ไผ่ที่ทำคานให้ผูกติดกับเสาทุกต้น
เมื่อตั้งเสาให้ใช้ไม้ไผ่ทแยงมุมไม่เกิน 45 องศา กับแนวราบ โดยให้มัดยึดโยงกับเสาทุกต้นสลับฟันปลาตลอดแนว
แล้วให้ใช้ไม้ไผ่ผูกยึดนั่งร้านกับเสาสมอฝังดิน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 4.50 เมตร
ชั้นของนั่งร้านแต่ละชั้น จะมีระยะห่างกันเกิน 2.00 เมตรไม่ได้
(ข) ถ้าใช้ไม้ชนิดอื่นทำนั่งร้าน ไม้ทุกชิ้นจะต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัด
ไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตรและมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
ระยะห่างของเสาคานและระยะระหว่างชั้นของนั่งร้านให้จัดทำเช่นเดียวกับนั่งร้าน ไม้ไผ่ และใช้ตะปูเป็นเครื่องยึดนั่งร้าน
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักเกินน้ำหนักผู้ปฏิบัติงานและวัสดุเบาที่จะนำมาใช้งานไม่ได้
(2) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 7.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง
(ก) ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำนั่งร้านไม้ไผ่ทุกลำจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 เซนติเมตร
วัดตรงกลางท่อน การต่อไม้ไผ่ให้ต่อทาบมีความยาวของส่วนที่ทาบกันไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
โดยมัดให้ติดกันด้วยวิธีขันชะเนาะไม่น้อยกว่าสองเปลาะ เชือกหรือปอที่ใช้สำหรับผูกลำไม้ไผ่
จะต้องเป็นเชือกหรือปอใหม่ มีความเหนียวพอสมควรและจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
การตั้งเสาไม้ไผ่ ให้ตั้งห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร เป็นสองแถว และระยะระหว่างแถวคู่เสาต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
และไม่เกิน 79 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นคานยึดกับเสาทุกต้นทั้งสองข้าง ตงสำหรับรองรับพื้นให้ใช้ไม้เคร่า
ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตร ผูกติดกับคานไม้ไผ่ในระยะห่างกันไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ไม้ที่ใช้ปูนั่งร้านให้ใช้ไม้ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ยึดติดตงให้แน่น
เมื่อตั้งเสาและผูกคานแล้ว ให้ใช้ไม้ไผ่ผูกทแยงกับเสาทุกต้น โดยทำมุมกับแนวราบไม่เกิน 45 องศา
โดยผูกสลับฟันปลาตลอดทั้งแถวหน้าและแถวหลัง
ให้ใช้ไม้ไผ่ผูกยึดนั่งร้านกับส่วนของอาคารซึ่งแข็งแรงพอ หรือผูกยึดกับเสาสมอฝังดิน แต่จะห่างกันเกิน 4.50 เมตรมิได้
ชั้นของนั่งร้านแต่ละชั้น จะมีระยะห่างกันเกิน 2.00 เมตร มิได้
(ข) ให้จัดทำราวกันตก โดยใช้ไม้ไผ่ผูกกับเสาตามแนวนอน ระยะความสูงจากพื้นนั่งร้านแต่ละชั้นไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร
และสูงไม่เกิน 1.10 เมตร ทุกชั้นของนั่งร้าน
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักจนเกิน 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มิได้
(3) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 12.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง
(ก) ต้องใช้เสาไม้ที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 33 ตารางเซนติเมตร และหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
การตั้งเสาแต่ละต้นห่างกันไม่เกิน 2.00 เมตร โดยตั้งเป็นสองแถวและระยะระหว่างแถวคู่เสาต้องห่างกัน
ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่เกิน 75 เซนติเมตร เสาไม้ต้องตั้งให้ได้ดิ่งกับพื้นดิน
การต่อเสาไม้ทุกแห่งต้องต่อด้วยวิธีชนกัน และมีทาบรอยชนกันทั้งสองด้าน
ไม้ทาบต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่าหน้าตัดของเสาและมีความยาวไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
ไม้ที่ใช้ทำคาน ต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 33 ตารางเซนติเมตร ไม้ดังกล่าวต้องมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และมีหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร ระยะห่างคานแต่ละชั้นไม่เกิน 2.00 เมตร
การต่อคานให้ต่อที่เสา คานให้ยึดติดกับเสา และต้องมีพุกรับทุกแห่ง
ไม้ที่ใช้ทำตง ต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตร หน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
ระยะห่างของตงแต่ละอันไม่เกิน 50 เซนติเมตร และตงทุกอันต้องยื่นปลายออกจากคานไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
โดยยึดให้ติดกับคานทุกแห่ง
ไม้ที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าไม้ที่ใช้ทำตง ค้ำยันจากพื้นดินขึ้นไปโดยตลอดเป็นรูปสลับฟันปลา
และทแยงมุม 45 องศา ถึง 60 องศา
พื้นนั่งร้านให้ใช้ไม้ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ปูทับตรงรอยต่อของพื้นต้องปูชน
และให้เสริมตงรับปลายของพื้นทุกแห่งที่มีรอยต่อแล้วยึดกับตงให้แน่น
อุปกรณ์ที่ใช้ยึดนั่งร้านให้ใช้ตะปูที่มีความยาวพอเหมาะ หรือสลักเกลียวยึดทุกจุด
การยึดนั่งร้านติดกับอาคาร คาน หรือเสาคอนกรีตรอบนอกของอาคาร ให้ฝังเหล็กกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร
ยาวไม่นอยกว่า 30 เซนติเมตร ไว้ในคอนกรีตยื่นจากผิวคอนกรีตและมีระยะห่างกันไม่เกิน 2.00 เมตร
เหล็กกลมดังกล่าวให้ปล่อยโผล่ไว้ เพื่อยึดเสานั่งร้านโดยรอบอาคาร และให้จัดทำ
ไม้ค้ำยันป้องกันนั่งร้านเซหรือล้มเข้าหาอาคารทุกชั้นของอาคาร
นั่งร้านต้องทำบันไดสำหรับขึ้นไว้ภายใน โดยใช้ไม้ขนาดหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร
ตีเป็นลูกขั้นบันได ระยะของลูกขั้นบันไดห่างกันไม่เกิน 50 เซนติเมตรต่อขั้น บันไดแต่ละขั้นต้องทำให้เยื้องกัน
แต่ไม่เกิน 10.00 เมตร
(ข) ให้จัดทำราวกันตก โดยใช้ไม้ขนาดหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร ติดตั้งเคร่าด้านในของเสาโดยรอบนั่งร้าน
ราวดังกล่าวต้องสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักจรเกิน 10 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มิได้
(4) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 21.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตาม (3) ทุกประการ
เว้นแต่เสาไม้สี่เหลี่ยมต้องมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร และให้เสาตั้งอยู่ห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร
หมวด 6
การคุ้มครองความปลอดภัย
ข้อ 13 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน หรือบนหรือภายใต้นั่งร้าน
หรือบริเวณใกล้เคียงกับนั่งร้าน ตามประเภทและลักษณะการทำงาน อันอาจได้รับอันตรายจากการทำงานนั้นๆ
สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะการทำงานและภาวะอันตรายที่อาจ
ได้รับตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ดังต่อไปนี้
(1) งานช่างไม้ สวมหมวกแข็งและรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(2) งานช่างเหล็ก สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(3)งานผสมปูนซีเมนต์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือยาง หรือถุงมือที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
และรองเท้ายางชนิดหุ้มแข้ง
(4).งานก่ออิฐ ฉาบปูน หรือตกแต่งผิวปูน สวมหมวกแข็ง ถุงมือยาง หรือถุงมือที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(5) งานประกอบโครงสร้าง ขนย้าย และติดตั้ง สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(6) งานทาสี สวมหมวกแข็ง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(7) งานประปา สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(8) งานช่างกระจก สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในที่สูงเกิน 4.00 เมตร
ซึ่งมีลักษณะโดดเดี่ยวและไม่มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น
สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาในการทำงาน
หมวด 7
มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ข้อ 15 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องเป็นรูปโดมชั้นเดียว ไม่มีตะเข็บ ไม่มีรูทะลุ ตัวหมวกทำด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะหรือมีส่วนที่เป็นโลหะ
มีน้ำหนักไม่เกิน 420 กรัม เมื่อทดสอบการรับแรงกระแทก
และการรับแรงเจาะตามวิธีทดสอบต้องลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร ตามลำดับ
ส่วนบนสุดของรองในหมวกต้องมีระยะห่างจากยอดหมวกด้านในไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
(2) ถุงมือ ต้องมีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย มีความยาวหุ้มถึงข้อมือ
และเป็นชนิดที่สวมนิ้วมือได้ทุกนิ้วเมื่อสวมแล้วสามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้สะดวก
ถ้าเป็นถุงมือยางต้องสามารถกันน้ำและกรดหรือด่างได้ด้วย
(3) รองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง ต้องทำด้วยหนังหรือผ้าหุ้มเท้าตลอดและมีพื้นรองเท้าเป็นยางสามารถป้องกันการลื่นได้
(4).เข็มขัดนิรภัยต้องทำด้วยหนัง หรือทำด้วยด้าย หรือใยไนล่อน
หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันถักเป็นแถบมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
สามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่า 1,150 กิโลกรัม
(5) เชือกนิรภัย ต้องสามารถทนแรงได้ไม่น้อยกว่า 1,150 กิโลกรัม ถ้าเป็นลวดสลิงต้องมีเครื่องช่วยรับแรงกระตุกติดตั้งไว้ด้วย
(6) รองเท้ายางชนิดหุ้มแข้ง ต้องทำด้วยยางหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหุ้มเท้าตลอดขึ้นไป
มีความสูงไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของหน้าแข้ง สามารถกันน้ำและกรดหรือด่างได้ด้วย
หมวด 8
เบ็ดเตล็ด
ข้อ 16 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยตามประกาศนี้ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 17 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2525
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 99 ตอนที่ 103 วันที่ 30 กรกฎาคม 2525
บทที่ 2 อุปกรณ์และเครื่องมือในงานนั่งร้าน
รายการเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ ช่างประกอบนั่งร้าน (Scaffolding materials)
1. ทิ้วทุกขนาด (Tubes = ทิ้ว)
2. แผ่นปูพื้น ทุกขนาด (Steel/wooden plank = สะตีล / วูดเด้นปลั้ง)
3. แคล้มป์ล็อก (Fixed clamps /Right angel = ฟิกเซ็ทแคล้มป์)
4. แคล้มป์หมุน (Swivel clamps = สะเว้ล์ว แคล้มป์)
5. แผ่นรองเสา (Base plate = เบส เพลท)
6. บันได (Ladder = แลดเดอร์)
7. ล็อคบีม (Beam clamps = บีมแคล้มป์)
8. แคล้มป์ล็อกแผ่นพื้น (Boarding clamps = บอร์ดิ้ง แคล้มป์)
9. ข้อต่อใน (Internal joint pin = อินเทอร์นอลจ้อยท์พิน)
10. ข้อต่อนอก (Sleeve Coupler)
11. ซิงเกิ้ลล็อก (Single lock/Put lock = ซิงเกิ้ลล็อก)
12. แคล้มป์ยึดบันได (Ladder clamps = แลดเดอร์แคล้มป์)
13. ลูกบันได (Step ladder = สะเต็ปแลดเดอร์)
14. จุกอุดทิ้ว (Tube safety caps = ทิ้วเซฟตี้แค็ป)
15. ลวดมัดแผ่นพื้น (Ties wires = ไต้ไว้เออร์)
16. ล้อเลื่อน (Castle wheels = คัสเติ้ลวีล)
17. รอก (Gin wheels = จินวีล)
18. ตะกร้านิรภัย (Couplers safety bag = คู้ปเปล้อร์ เซฟตี้แบ็ก)
รายการเครื่องมือ ช่างประกอบนั่งร้าน (Scaffolding Tools)
1. ประแจหางหนู No.17/19 No.19/ 21 (Double spanner/Wrench)
2. ระดับน้ำ (Sprit level = สะปริต เลเวล)
3. ตลับเมตร (Measuring tape = มิเซอร์ริ่งเทป)
4. คีมตัดลวด (Cutting pier = คัทติ้ง ไพเออร์)
5. ถุงมือหนังชนิดพิเศษ (Leather Hands gloves = ลีเทอร์แฮนด์โกลฟ)
6. สายเข็มขัดนิรภัย (Safety Harness full body = เซฟตี้ฮาเนสฟูลบอดี้)
บทที่ 3 ความหมายของโครงสร้างนั่งร้านแบบมาตรฐานสากล
ความหมายแต่ละส่วนของโครงสร้างนั่งร้าน
1. Bay length ( เบย์ เล้นท์ ) คือ ช่องว่างระหว่างเสา เป็นพื้นที่ในรูปลักษณะที่แตกต่างกันตามกำหนด ตามมาตรฐานของแต่ละโครงสร้างโดยกำหนดระยะห่างเท่ากับ1.5-2.00เมตร
2. Lift ( ลิฟท์ ) คือ ระดับชั้นของโครงสร้าง ต่อ 1 โครงสร้างในระดับแนวระนาบกับพื้นดิน เริ่มนับตั้งแต่คานตัวแรกขึ้นไปโดยกำหนดระยะห่างเท่ากับ ไม่เกิน 2.20 เมตร
3. Foot lift ( ฟุต ลิฟท์ ) คือ ตงเหยียบตัวแรกที่ยึดติดอยู่กับเสาเหนือระดับพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต จะติดตั้งอยู่บนคานตัวแรกเสมอ
4. Standard ( สแตนดาร์ท ) คือ เสา เป็นส่วนสำคัญอันดับแรกที่จะต้องทำการติดตั้งก่อนตามขนาดที่กำหนดและทำหน้าที่เป็นตัวหลักของโครงสร้างทั้งหมด
5.Ledger ( ลีด เกอร์ ) คือ ทิ้วของนั่งร้านที่อยู่ในลักษณะแนวยาว ทำหน้าที่ยึดแนวเรียงของเสา เพื่อจัดความถี่ ระยะห่างของเสาให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างสวยงามและแข็งแรง จะอยู่ใต้ล่างของตงหลักเสมอ
6. Transom ( ทรานซ์ ซอม ) คือ ตงหลักที่ยึดอยู่กับเสาแนบชิดกันกับคานล่างตัวแรก เป็นส่วนที่ยึดโครงสร้างควบคู่กันกับเสา/คาน ให้เป็นรูปลักษณะตามกำหนด ทั้งนี้ ตงมีอยู่ 2 ประเภท คือตงหลักและตงเสริม(Intermediate transom) ตงเสริม จะทำหน้าที่รองรับแผ่นปูพื้นอยู่ตรงกลางเสมอ
7. Brace ( บราซ ) คือ ตัวค้ำยัน ทำหน้าที่ยึดและจัดระดับความเที่ยงตรงของเสา ให้เกิดความแน่นหนา แข็งแรงต่อโครงสร้างของนั่งร้าน ตัวค้ำยันแยกออกได้หลายประเภท ดังนี้
(1) Facade brace (ฟาเคด บราซ) คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างของนั่งร้านไม่ให้โยกเยกสั่นคลอนไปมา ลักษณะค้ำยันแบบนี้ส่วนมากจะใช้ทิ้วที่มีความยาวตั้งแต่ 4-6 เมตร
(2) Ledger brace ( ลีดเกอร์ บราซ ) คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่ค้ำยันระหว่างความห่างของเสาในลักษณะแนวเฉียงทะแยงมุม เพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างแต่ละชั้นให้แข็งแรง
(3) Plan brace ( เปลน บราซ )คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่ยึดจากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่งในลักษณะทแยงมุม ส่วนมากค้ำยันแบบนี้จะเป็นของนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile)
(4) Knee brace ( นี บราซ )คือ ตัวค้ำยันในลักษณะข้อพับหัวเข่า จะอยู่ด้านความกว้างของนั่งร้านเสมอ จะติดตั้งตามรูปแบบที่กำหนด คือแบบซิกแซก หรือแบบฟันปลา อย่างใดอย่างหนึ่ง
8. Puncheon ( ปัน เจิน ) คือ เสาลอยที่จับยึดจากคานหรือตง ในลักษณะแนวตรงเท่านั้น เพื่อทำหน้าที่ต่อเติม เสริมมาในส่วนของโครงสร้าง ส่วนมากจะทำหน้าที่ยึดแผ่นกั้นกันตกรวมทั้งราวกันตก หรือส่วนที่ต้องการต่อเติม
9. Rake/Spur ( แร้ค/ สะเปอร์ ) คือ เสาลอยพิเศษที่ติดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้าง ในลักษณะแนวตรงและแนวเฉียง ส่วนมากจะเป็นงานดัดแปลงแก้ไขเพื่อให้ความแข็งแรงของพื้นที่การทำงานสามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นจำนวนมากเหมือนกันกับโดครงสร้างของเสา
10. Guardrail ( การ์ด แรล ) คือ ราวกันตก เป็นโครงสร้างสุดท้ายของโครงสร้างนั่งร้านที่ทำหน้าที่ป้องกันการพลัดตกขณะทำงาน เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของความสมบูรณ์แบบของนั่งร้าน โดยกำหนดระยะห่าง เท่ากับ ไม่เกิน 1.10 เมตรไม่ต่ำกว่า 90 ซม.
11. Butt tube ( บัท ทิ้ว ) คือ ทิ้วสั้นที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างนั่งร้านแบบแขวนห้อย จะทำหน้าที่รองรับช่างนั่งร้านระหว่างการติดตั้งและรื้อถอน
12. Toe board ( โต บอร์ด ) คือ แผ่นกั้นกันตก ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์การทำงานที่นำขึ้นไปบนพื้นของนั่งร้านและการสะดุดล้มจากการทำงาน แผ่นกั้นกันตกจะติดตั้งไว้โดยรอบ ทั้งด้านกว้างและด้านยาว ยกเว้นทางขึ้นลงบันได
13. Working platform ( เวิร์คกิ้ง เพลทฟอร์ม ) คือ พื้นที่การทำงาน เป็นส่วนที่สำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้งานของนั่งร้าน จะต้องมีการผูกมัดอย่างแน่นหนาและประชิดกันอย่างแนบสนิท เพื่อป้องกันอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีรูปร่างเล็กๆตกหล่นลงมายังพื้นดิน
14. Coupler ( คู้ปเปล้อร์) คือ อุปกรณ์ที่จับยึดทุกส่วนของโครงสร้างนั่งร้านให้เป็นไปตามกำหนด เช่น แคล้มป์ทุกประเภท ข้อต่อทุกประเภท เป็นต้น
15. Sole board ( โซล บอร์ด ) คือ แผ่นรองพื้นที่แนบสนิทอยู่กับพื้นดินเพื่อทำหน้าที่รองรับแผ่นรองเสา จะต้องเป็นแผ่นไม้ที่มีความแข็งแรงอย่างมาก
16. Ladder ( แลดเดอร์ ) คือ บันได ทำหน้าที่เป็นทางขึ้นลงต่อนั่งร้าน 1 โครงสร้าง การติดตั้งบันไดจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่อโครงสร้างนั่งร้าน และมาตรฐานความลาดเอียงของบันไดเมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว จะเท่ากับ 75 องศา ปลายสุดของบันไดจะต้องเหลือไว้เท่ากับ ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร บันไดที่ใช้กับนั่งร้านมีอยู่ 2 ประเภท คือ บันไดอะลูมิเนียมและบันไดบีม บันไดบีมจะใช้ในกรณีของนั่งร้านแขวนห้อยเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างทั้งหมดให้แข็งแรงและมั่นคง อุปกรณ์ที่จับยึดบันไดส่วนมากจะมีอุปกรณ์เฉพาะอยู่แล้วห้ามใช้อุปกรณ์อื่นที่มีความเสี่ยงต่อการขึ้น-ลง หรือผิดรูปแบบ
Right angle / Fixed clamp / Swivel clamp
Two ways fixed clamp / Two ways Swivel clamp
ภาพแสดงส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการจับยึดทุกส่วนของโครงสร้างนั่งร้านที่มีคุณสมบัติพิเศษ
เป็นเนื้อโลหะชนิดอัลลอยชุบโครเมียม ในลักษณะสองทิศทางที่เป็นอุปกรณ์ออกแบบพิเศษเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการใช้งานควบคู่กันกับอุปกรณ์ประเภทอื่นๆที่ขนาดที่แตกต่างกันตามที่
สังเกตเห็นในภาพ และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อเพลิง อุปกรณ์ชนิดนี้จะง่ายต่อการใช้งานเนื่องจากได้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับผิวสัมผัสของทิ้วอย่างลงตัว
แต่จะมีข้อเสียก็คืออุปกรณ์ชนิดนี้ จะมีขีดจำกัดในการรัดตัวเอง นั้นหมายถึงถ้าหมุนเกลียวล็อกแน่นเกินไปจะทำให้แตกร้าวได้ คลายตัวได้ง่าย เกิดจากคุณสมบัติของเนื้อโลหะชนิดนี้ นั่นเอง
Sleeve coupler Single clamp
ภาพแสดงในส่วนของอุปกรณ์ในการจับยึด ชนิดโลหะที่เป็นเหล็กกล้า 70 % เคลือบด้วยกาวไนซ์ผสมสีชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติพิเศษในการมองเห็นได้อย่างเด่นชัด และมีความยืดหยุ่นสูง คลายตัวยากเมื่อหมุนเกลียวล็อกแน่น จึงนิยมใช้ในส่วนของโครงสร้างที่ต้องการรองรับน้ำหนักจำนวนมากเป็นพิเศษ ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ คือพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดความเสียหายที่เกลียวของตัวล็อก จะทำให้อายุการใช้งานน้อยลง
Beam clamp (Js.) Fixed clamp
บีมแคล้มป์ คืออปุกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดต่อโครงส้รางนั่งร้านประเภทนั่งร้านแขวน (Hanging suspended)
(Js.) Swivel clamp (Bs.) Single Holding
ภาพแสดงเครื่องมือทุกชิ้นในการทำงานนั่งร้านแบบมาตรฐาน (BS)
บทที่ 4 รูปแบบและประเภทของนั่งร้าน
รูปแบบของนั่งร้านแบบมาตรฐานประเภทต่างๆ
ประเภทของนั่งร้านที่ใช้เป็นรูปแบบในการติดตั้งเพื่อรองรับการทำงานแต่ละประเภทของผู้ขอใช้บริการนั่งร้านนั้น มีอยู่หลากหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีรูปร่างและขั้นตอนในการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดจากการคัดเลือกประเภทของนั่งร้านต่อพื้นที่นั้นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างประกอบนั่งร้านจะต้องคำนึงรูปแบบของนั่งร้านเป็นอันดับแรก ดังนั้นรูปแบบของนั่งร้านที่เป็นมาตรฐานสากลได้กำหนดไว้เป็นรูปแบบพื้นฐาน 3 ประเภท
1. นั่งร้านแบบหอสูง หรือ กล่องลิฟท์ (Standing Tower) เป็นรูปแบบของนั่งร้านที่นิยมติดตั้งกันทั่วไป ตามงานก่อสร้างอาคาร , บ้านเรือน , ตึกสูง งานก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น
ในรูปแบบของทางขึ้น-ลง สำหรับพื้นที่การทำงานบนที่สูง ซึ่งรูปร่างของนั่งร้านโดยรวมของโครงสร้างนั้นจะมีด้านกว้างและด้านยาวเท่ากันเสมอ ส่วนความสูงนั้นจะคำนึงถึง
อัตราส่วนของฐานล่าง เท่า 1 ต่อ 2
นั่งร้านแบบหอสูงยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมติดตั้งเป็นนั่งร้านเคลื่อนที่ (Mobile scaffold) ซึ่งอาศัยหลักการประกอบเช่นเดียวกัน แต่ข้อกำหนดของนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
• มีการจำกัดความสูงไว้ไม่เกิน 4 เมตร/ 4 ล้อเลื่อน
• กรณีที่ใช้ความยาว ไม่เกิน 3 เมตร ความสูงไม่เกิน 6 เมตร/ 6 ล้อ
• มีพื้นที่การทำงานได้เพียง 1 ชั้นเท่านั้น
• มีทางขึ้น-ลงที่สามารถเปิด-ปิดได้อย่างปลอดภัย
• ไม่ควรติดตั้งบันไดให้ลาดเอียงเกินกว่ากำหนดไว้ 75 องศา
• ต้องมีค้ำยัน ด้านหน้าแปลน (ยึดอยู่กับเสาตรงข้ามทแยงมุมกัน)
• ล้อเลื่อนที่ใช้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นมาตรฐานในการรองรับน้ำหนัก
(อย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 1,500 กก./ 1 ล้อ)
(ดูภาพตัวอย่าง)
ภาพแสดงนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ (Mobile scaffolding)
2. นั่งแบบหอสูง ประเภทที่ติดตั้งกับพื้น (เคลื่อนที่ไม่ได้) (Standing column)
รูปแบบของนั่งร้านประเภทนี้ส่วนมาก จะทำการติดตั้งเพื่อเป็นทางขึ้น-ลง มีรูปร่างเหมือนกล่องลิฟท์ สามารถประกอบและติดตั้งได้สูงมากตามลักษณะงาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง ศักยภาพโดยรวมของนั่งร้านประเภทนี้ คือสามารถรองรับน้ำหนักได้ มากกว่า ประเภทอื่นๆ เมื่อเทียบ 1 ต่อ 1 ตร.ลบม.นั้นก็หมายถึง จะเป็นการรองรับน้ำในลักษณะที่โครงของเสา (Column tower) โดยจะมีส่วนประกอบต่างๆตามข้อกำหนดดั่งนี้
• ด้านความกว้างและความยาว จะเท่ากัน เสมอ (ตามขนาดที่กำหนด)
• ตัวอย่างอัตราส่วนของโครงสร้าง คือ
• ฐาน 2 x 2 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 6 เมตร
• ฐาน 3 x 3 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 12 เมตร
• ฐาน 4 x 4 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 20 เมตร (ต้องมีการขอใบอนุญาต)
• ฐาน 6 x 6 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 25 เมตร
• ฐาน ตั้งแต่ 12 x 12 m. ขึ้นไป จะสามารถติดตั้งได้สูงกว่า 30 เมตร (ในกรณีที่นั่งร้านมีความสูง เกิน 30 เมตร จะต้องทำการเสริมความกว้างของฐานทันที)
(ดูภาพตัวอย่าง)
Standing tower access
3. นั่งร้านแบบอิสระ (Independent access) เป็นนั่งร้านประเภทที่พบเห็นมากในสถานที่ก่อสร้างทั่วไป เนื่องจากนั่งร้านแบบอิสระได้กำหนดรูปแบบมาใช้งานในด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งงานภายในและภายนอก โดยมีข้อกำหนด ดั่งนี้
• จะมีด้านกว้างที่น้อยกว่าด้านยาว 1 เท่า ตามอัตราส่วน
• จะมีความกว้าง ไม่เกิน 2 เมตรและจะมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร
• ในกรณีที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ต้องมีค้ำยันฐานพิเศษ (Out-rigger) เช่นเดียวกันกับฐานของการติดตั้งของรถเครน
• จะต้องมีการจับยึดโครงสร้างของนั่งร้านเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆของโครงสิ่งก่อสร้างที่ได้จัดเตรียมไว้อย่างแน่นหนา ทุกๆ 6 เมตร
• จะต้องติดตั้งบันไดทางขึ้น-ลง เป็นลักษณะกล่องลิฟท์เป็นส่วนยื่นเฉพาะของโครงสร้างนั่งร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
(ดูภาพตัวอย่าง)
ภาพนั่งร้านแบบอิสระ (Independent scaffolding)
4. นั่งร้านแบบรังนก หรือ เวที (Birdcage scaffolding) เป็นนั่งร้านที่พบเห็นควบคู่อยู่กับประเภทนั่งร้านแบบอิสระ แต่จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันก็คือ นั่งร้านแบบรังนกจะติดตั้งเพื่อเป็นพื้นรองรับแบบเทพื้นคอนกรีต หรือต้องการใช้พื้นที่ ที่ทำงานเป็นลักษณะที่กว้างมาก เพื่อรองรับคนงานและอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปใช้งานบนพื้นที่ของนั่งร้าน โดยมีข้อกำหนดดั่งนี้
• จะมีความกว้างและความยาวเท่ากัน โดยไม่ต่ำกว่า 3 เมตรและไม่เกิน 15 เมตร
• จะมีระยะห่างระหว่างเสาที่ถี่มาก แต่ไม่น้อยกว่า 1.2 เมตร
• จะมีเสาโดยรอบนอกทำหน้าที่เป็นราวกันตก เสาด้านในทั้งหมดจะต้องไม่โผล่ขึ้นมาเกะกะในการทำงาน (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ขอใช้บริการนั่งร้าน)
• ความเหมาะสมของทางขึ้น-ลง จะต้องติดตั้งไว้ทั้งหมด 4 มุม (ในกรณีที่มีความกว้างและความยาวเกิน 10 เมตร
(ดูภาพตัวอย่าง)
รูปแบบต่างๆของนั่งร้านประเภทรังนก หรือแบบเวที (Birdcage access)
5. นั่งร้านแบบเสริมพิเศษ (Suspended scaffolding) เป็นนั่งร้านประเภทที่เสริมหรือปรับปรุงรูปแบบขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานบนที่สูงเฉพาะที่ ในส่วนที่ยื่นออกมาจากบริเวณที่ทำงานไม่สะดวก ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท ดั่งนี้
• นั่งร้านแขวน (Hanging access) เป็นนั่งร้านที่มีโครงสร้างทั่วไปเหมือนกันกับนั่งร้านหอสูง ที่ทุกส่วนของโครงสร้างของนั่งร้านจะยึดกับโครงสร้างของงานอย่างแน่นหนา โดยมีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ ล็อกบีม และจะมี
แคล้มป์ล็อกเป็นตัวยึดกันรูดไว้ด้านล่างนั่งร้านประเภทนี้ จะต้องอาศัยช่างที่มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ-ประสบการณ์เป็นอย่างมาก (ดูตัวอย่างภาพ)
จะสังเกตเห็นได้จากภาพ โครงสร้างของนั่งร้านแบบแขวน (Hanging scaffolding) ส่วนของโครงสร้างที่จะต้องคำนึงมากที่สุดคือ ฐานด้านล่างจะต้องให้แข็งแรงที่สุด ตามขีดจำกัดการรองรับน้ำหนักของผู้ใช้บริการ จะมีบันไดบีมเป็นตัวกำหนด
• นั่งร้านแบบแขวนลักษณะ ทางเดิน (Walk way) เป็นนั่งร้านที่ดัดแปลงรูปแบบมาจากนั่งร้านแบบอิสระที่มีโครงสร้างเป็นนั่งร้านแขวน แต่จะมีค้ำยันด้านล่างและมีขีดจำกัดด้านความกว้าง ไม่เกิน 1.5 เมตร (ดูตัวอย่างภาพ)
ภาพแสดงนั่งร้านที่เป็นลักษณะทางเดินโดยรอบบริเวณที่ทำงาน จะติดตั้งเป็นส่วนยื่นออกมา
เพื่อรองรับน้ำหนักเฉพาะที่ตกกระทบทางเดิน
6. รูปแบบโดยทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์นั่งร้านติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวก อย่างเช่น ติดตั้งเป็นรั้วกั้น เป็นบริเวณเก็บของ ฯลฯ ตามลักษณะงานและรูปแบบที่กำหนด
(ดูตัวอย่างภาพ)
Emergency temporary support and walkways by framing access
กระบวนการและขั้นตอนการติดตั้งนั่งร้าน
การเตรียมการติดตั้งนั่งร้านเพื่อความปลอดภัย
1. จะทำการติดตั้งนั่งร้านเพื่ออะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
2. ทำการตรวจสอบสภาพพื้นที่ว่าอยู่ในลักษณะอย่างไร ลักษณะพื้นที่ ที่ไม่ควรติดตั้งนั่งร้านตามข้อกำหนด ดั่งนี้
• บริเวณที่เป็นหลุม เป็นบ่อลึกเกิน 80 ซม. และเสี่ยงต่อการทรุดตัวของหน้าดินที่จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างนั่งร้าน หากมีข้อยกเว้น ควรทำการติดตั้งโครงสร้างให้ห่างจากหลุม ไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของโครงสร้างนั่งร้าน
• บริเวณที่ใกล้ชุมสายไฟฟ้าแรงสูง เนื่องจากวัสดุ-อุปกรณ์ของโครงสร้างนั่งร้านเป็นโลหะชนิดนำกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี หากมีข้อยกเว้น ควรทำการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณนั้นก่อน และต้องมีใบอนุญาตจากผู้ควบคุมดูแลด้วย
• บริเวณที่เป็นสถานีหรือหัวฉีดดับเพลิง ไม่ว่าจะกรณีใดๆบริเวณนี้ไม่ควรทำการติดตั้งนั่งร้าน จะทำให้การทำงานของระบบดับเพลิงมีปัญหาตามมาภายหลัง
• บริเวณที่เก็บกักสารเคมีและวัตถุไวไฟ หากมีข้อยกเว้น ควรได้รับอนุญาตจากผู้ที่รับผิดชอบพื้นที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และควบคุมดูแล จัดเตรียมการป้องกันภัยอย่างใกล้ชิด
• บริเวณที่มีการปิดป้ายต้องห้ามพิเศษ (Restricted area) อย่างเช่น บริเวณที่ทำการ เอ็กซ์เรย์ (X-ray) ฉายฟิล์ม เป็นต้น หรือตรวจสอบพื้นที่อยู่
• บริเวณที่อับอากาศ (Confine space) สถานที่เหล่านี้จะมีอากาศหายใจที่น้อยกว่าพื้นที่ธรรมดาหลายเท่า เนื่องจากระดับของออกซิเจนถูกทำลายด้วยสารเคมีปนเปื้อนชนิดอื่นๆ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของผู้ที่จะเข้าไปทำงาน
หากมีข้อยกเว้น ควรจะได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในสถานที่อับอากาศก่อน
3. เลือกรูปแบบและประเภทของนั่งร้านให้เหมาะสมกับพื้นที่
4. วางแผนการติดตั้งและประเมินความเสี่ยงตลอดระยะเวลาของการทำงาน
5. ตรวจสอบรายการอุปกรณ์นั่งร้านและอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เพียงพอ
6. การให้คำปรึกษา คำแนะนำเพิ่มเติมทุกๆระยะ บริเวณที่ทำงาน
7. ทำการติดตั้งนั่งร้านตามขั้นตอน ตามแบบมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง
8. ทำการตรวจสอบตามรายการที่กำหนดก่อนใช้งาน (แขวนป้ายสีเขียว) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
ข้อปฏิบัติเบื้องต้นก่อนทำการติดตั้งนั่งร้าน
1. ศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดในใบอนุญาตการทำงานแต่ละพื้นที่
2. ทำการปิดกั้นบริเวณ ล้อมพื้นที่ที่ทำงาน พร้อมติดป้ายเตือน (ห้ามผ่านเข้า-ออก)
3. ทำการแขวนป้ายสีแดง เพื่อบอกสถานะในระหว่างการทำงาน
4. สวมใส่และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดเวลา
5. เคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะที่ถูกต้องและระมัดระวังการพลัดตกจากที่สูง
6. สภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดตั้งในขณะนั้นต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมและสมบูรณ์
อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง แบบมาตรฐาน
1. Safety harness full body ( เซฟตี้ ฮาเนส ฟูลบอดี้ ) คือ อุปกรณ์ช่วยชีวิตการทำงานบนที่สูงได้มาตรฐานตามระบบงานติดตั้งนั่งร้าน ซึ่งประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตได้สูงถึง 2 เท่า กล่าวคือ สายเซฟตี้เบ้ลท์ จะหน่วงเวลาในการช่วยชีวิตได้แค่ 90 วินาที แต่สายเซฟตี้ ฮาเนส สามารถหน่วงเวลาได้ถึง 15-20 นาที สรุปก็คือ สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลา ถึง 90 % จะต้องสวมใส่ตลอดเวลาและถูกต้องในขณะทำงาน
2. เชือกผูกอุปกรณ์-เครื่องมือในการทำงานบนที่สูง (Tooling ties) ช่างติดตั้งนั่งร้านที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วควรจะคำนึงถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากวัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือที่นำขึ้นไปติดตั้งนั่งร้านบนที่สูง เป็นอันดับแรก เครื่องมือที่ควรจะทำการผูกมัดหรือมีที่จัดเก็บเป็นอย่างดี คือ ประแจ , ระดับน้ำ ,คีมตัดลวด และอื่นๆที่เสี่ยงต่อการพลัดตกลงมาขณะการทำงาน
3. ถุงใส่อุปกรณ์การจับยึด (Coupler safety bags) เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่หน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับช่างติดตั้งนั่งร้านแบบมาตรฐานในการทำงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจับยึดทุกตัวนั้น ก่อนที่จะนำขึ้นไปบนที่สูงควรจะมีผูกมัดด้วยลวดหรือเก็บใส่ถุงเป็นอย่างดี ห้ามโยนโดยเด็ดขาด ก่อนที่จะนำถุงมาใช้งานให้ตรวจสอบมาตรฐานการบรรจุ (swl.)ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งตรวจสอบสภาพการใช้งานให้เรียบร้อย
4. อุปกรณ์เสริมพิเศษ (Crane / Manlift) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการติดตั้งนั่งร้านบนที่สูงโดยเฉพาะนั่งร้านแบบแขวน ทางผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานจะต้องทำการจัดเตรียมอุปกรณ์เสริมพิเศษเพื่อนำวัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือในการติดตั้ง อย่างเช่น เครน , กระเช้าไฟฟ้า เป็นต้น
5. ตาข่ายนิรภัย (Safety nets) การทำงานบนที่สูงในแต่ละสถานที่ แต่ละแผนกงานนั้นจำเป็นที่สุดที่จะต้องมีการเตรียมการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกลงมาจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือวัสดุต่างๆที่มีน้ำหนักมาก นั้นคือ การติดตั้งตาข่ายที่ความแข็งแรงเพียงพอต่อการรองรับน้ำหนักสิ่งต่างที่ตกลงมาจากที่สูง ในกรณีที่มีการทำงานบนที่สูงโดยที่ไม่ต้องใช้นั่งร้านนั้น ควรมีการติดตั้ง สลิงช่วยชีวิต (Life-line) ก่อน
ขั้นตอนและวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
การติดตั้งนั่งร้านแบบทั่วไป ( ภาคพื้นดิน )
1. ทำการวางผังและ โซลบอร์ด (Sole-board) แผ่นกระดานไม้ที่จะนำมาใช้เป็นแผ่นปรับระดับหน้าดินเป็นอันดับแรกนั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่แตก ไม่หัก ไม่บิ่นไม่ร้าว ควรมีขนาดที่กว้างไม่ต่ำกว่า 200 มม. และหนา ไม่ต่ำกว่า 25 มม. ส่วนด้านยาวนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของนั่งร้าน และจำนวนเสาของโครงสร้าง
2. วางแผ่นรองเสา (Base-plate) ลงบนแผ่นกระดานไม้โดยให้อยู่กึ่งกลางระหว่างขอบและหัวกระดาน ไม่ต่ำกว่า 100 มม. ทั้งสองฝั่งของแผ่นกระดาน ขนาดของแผ่นรองพื้นที่นำมาใช้ควรมีขนาด ไม่ต่ำกว่า 150 x 150 x 5 x 120 mm. ตามจำนวนของเสาและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
3. ทำการติดตั้งเสา (Standard / Post) นำทิ้วที่มีความยาวและความหนา วงในตามกำหนดไว้ ไม่ต่ำกว่า 3.5 มม. สวมลงกับก้านแผ่นรองพื้น ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆในรูของทิ้วซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการติดตั้ง การติดตั้งเสาควรคำนึงถึงการต่อเสา หมายถึงเสาจะต้องมีขนาดความยาวที่ต่างกัน เช่น นั่งร้านที่มีความสูง ไม่เกิน 6 เมตร สามารถใช้ทิ้วที่มีความยาว 6 เมตรได้เลย ถ้าสูงเกิน 6 เมตร จะใช้เสา 2 ขนาด คือ 4 กับ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับการวางแผนของช่าง จะใช้ขนาดใดก่อน ต้องสลับกัน ระหว่างเสาต่อเสา ความหมายก็คือเวลาต่อเสาให้สูงขึ้น ข้อต่อที่นำมาใช้งานจะต้องไม่ตรงกัน
4. วางคานตัวแรก (Ledger) นำทิ้วตามขนาดความกว้างหรือความยาวของนั่งร้านที่ได้กำหนดไว้ แล้วนำแคล้มป์ล็อกจับยึดที่เสาต้นแรกก่อน โดยให้สูงจากแผ่นรองพื้น ไม่ต่ำกว่า 200 มม. และไม่เกิน 300 มม. แล้วนำทิ้วที่เตรียมไว้มาประกอบเข้ากับแคล้มป์พร้อมกันทั้งสองฝั่ง ทำควบคู่กันเสมอ ล็อกให้แน่น ด้านที่ติดอยู่กับต้นแรกเมื่อได้ระยะแล้วล็อกให้แน่นเพื่อเป็นแบบให้ฝั่งตรงข้าม ทำการตั้งและถ่ายระดับ
5. วางตงหลัก (Transom) เป็นส่วนของโครงสร้างที่ติดตั้งต่อเนื่องโดยจับยึดอยู่บนคานตัวแรก ตงหลักจะทำการจับยึดอยู่กับเสาเสมอ ในกรณีที่เป็นแคล้มป์ชนิดของมาตรฐาน Js ให้ใช้ทั้งหมด 3 ตัวในการยึดเพื่อให้เกิดความแข็งแรงต่อโครงสร้างตงจะมีจำนวนเท่ากันกับเสา
6. ติดตั้งค้ำยัน (Bracing) เมื่อทำการติดตั้งโครงสร้างฐานเสร็จแล้ว ทำการติดตั้งค้ำยัน เริ่มต้นจากเสาใดเสาหนึ่งก่อน แล้วทำการจับยึดกับเสาโดยใช้แคล้มป์หมุน ให้จับยึดสูงกว่าตงประมาณ 100 - 200 มม. ขันน็อตให้แน่น แล้วจับยึดกับอีกเสาต้นหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างถัดกันไป ในลักษณะบันไดวน รูปแบบของการค้ำยันมีอยู่หลายรูปแบบ เช่นแบบสลับฟันปลา แบบซิกแซก ส่วนมากก็จะใช้แบบซิกแซก แล้วทำการติดตั้งระดับของเสา ตามขั้นตอน
7. ชั้นวางฐานที่ 1 ทำการติดตั้งคานตัวที่สองโดยกำหนดให้ระยะความสูงเท่ากับ 1.80-2.20 เมตร โดยจับยึดจากเสาต้นใดต้นหนึ่งก่อน เพื่อถ่ายระดับไปยังเสาต้นอื่นๆอีกต่อไป
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากต่อการปรับระดับโครงสร้างพื้นฐานของนั่งร้าน จะต้องทำอย่างละเอียด ก่อนที่จะติดตั้งส่วนอื่นๆต่อไป ทุกส่วนจะต้องได้ระดับและยึดให้แน่น
8. ทำการวางตงหลัก เช่นเดียวกันกับขั้นตอนแรกที่ติดตั้งผัง แล้วถ่ายระดับไปยังเสาตรงข้ามเพื่อเป็นแบบสำหรับส่วนอื่นๆต่อไป
9. ทำการวางตงเสริม (Intermediate transom) ตงเสริมเป็นส่วนที่รองรับแผ่นปูพื้นไม่ให้แอ่นตัวเวลาที่มีอุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักตกกระทบบนพื้นนั่งร้าน ทั้งนี้ถ้านั่งร้านที่ต้องการปูพื้นแค่ชั้นเดียว ก็ทำการวางตงเสริมได้เลย แต่ถ้าไม่ต้องการให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
10. ทำการวางแผ่นปูพื้น (Platform) แผ่นปูพื้นจะต้องมีขนาดความกว้างความยาวความหนาตามที่มาตรฐานกำหนด และเลือกใช้ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ถ้าเป็นประเภทที่เป็นไม้กระดาน จะมีขนาดตามมาตรฐานคือ หนาไม่ต่ำกว่า 25 มม และกว้างไม่ต่ำกว่า 200 มม. ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของนั่งร้าน ความยาวสุดของแผ่นปูพื้นไม่เกิน 4 เมตร รวมทั้งที่เป็นแบบโลหะด้วย พร้อมกับผูกมัดลวดให้แน่นทุกแผ่น
11. ทำการใส่ราวกันตก (Guardrail) ระยะห่างของราวกัน เท่ากับ 1.10 เมตร (55+55 ซม.) หรือวัดระดับได้ง่ายๆคือ หัวเข่า และบั้นเอว โดยรอบบริเวณ บริเวณที่เป็นทางขึ้นบันได ให้ใส่แค่ด้านบนเท่านั้น
12. ทำการติดตั้งบันไดพร้อมช่องบันได (Ladder) บันไดนั่งร้านนับว่ามีความสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกของผู้ติดตั้งและผู้ใช้บริการ โดยให้มีความลาดเอียงเท่ากับ 75 องศา และเหลือปลายของบันไดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ บันไดเป็นส่วนสำคัญของทุกโครงสร้างของนั่งร้านจะต้องติดตั้งทันที เมื่อได้ความสูงเกิน 3 เมตรขึ้น นั้นหมายถึงการขนถ่ายขึ้น-ลงของวัสดุ-อุปกรณ์รวมทั้งผู้ติดตั้งจะต้องผ่านทางบันไดเป็นส่วนมาก ไม่ว่ากรณีใดๆจะต้องขึ้น-ลงทางบันไดเท่านั้น
13. ทำการติดตั้งแผ่นกั้นกันตก (Toe board) โดยรอบพื้นที่ของการทำงาน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการติดตั้งนั่งร้าน แผ่นกั้นที่นำมาใช้ควรมีขนาดที่พอเหมาะกับขนาดความกว้าง-ความยาวของนั่งร้านและแข็งแรงพอสมควร
รายการตรวจสอบความสมบูรณ์ของนั่งร้าน
เมื่อนั่งร้านทำการติดตั้งเสร็จแล้ว พร้อมที่จะใช้งาน หัวหน้างานจะทำการติดต่อให้ผู้มีหน้าที่(ระดับวิศวกรโยธาฯ ชั้นวุฒิบัตร)ตรวจสอบความสมบูรณ์แบบของนั่งร้าน มาทำการตรวจสอบตามรายการดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบกระดานแผ่นพื้นที่รองรับแผ่นรองเสา จะต้องอยู่ในสภาพที่ไม่แตกหักแข็งแรงต่อน้ำหนักที่กดทับลงมาที่แผ่นรองเสา แล้วถ่ายน้ำหนักไปยังแผ่นกระดานไม้ ความหนาของกระดานไม่ต่ำกว่า 25 มม.
2. ระยะห่างของเสาแต่ละต้น กำหนดให้ไม่เกิน 2.5 เมตร (มาตรฐานจะอยู่ที่ระหว่าง 1.5-2.00 เมตร) และได้ระดับความเที่ยงตรงตลอดแนว
3. ระยะห่างของคานล่างตัวแรก ต้องอยู่ในการเว้นช่องที่เหมาะสมกับตงหลัก
4. ตัวค้ำยันที่อยู่ในลักษณะทแยงมุมได้องศา จะต้องใช้แคล้มป์หมุน ทั้งสองด้าน
5. ตรวจสอบแคล้มป์ที่ยึดอยู่ในส่วนที่สำคัญของนั่งร้าน จะต้องหมุนเกลียวล็อกให้แน่นแนบสนิทกับผิวของทิ้วเสาและคาน สามารถรองรับน้ำหนักที่จะเกิดขึ้นบนนั่งร้านได้ทุกระยะ 40 ตารางเมตร (กว้าง x ยาว x สูง)
6. ตรวจสอบแผ่นปูพื้น ต้องผูกมัดด้วยลวดที่ได้ผ่านการอนุญาตให้ใช้อย่างแน่นหนา และแนบสนิทชิดกัน แผ่นกั้นกันตกต้องแนบสนิทกับแผ่นปูพื้นไม่มีช่องว่าง รวมทั้งราวกันตกด้วยจะต้องได้มาตรฐานตามกำหนด
7. ตรวจสอบการใช้อุปกรณ์การจับยึดจะต้องแน่นทุกตัวไม่ว่าจะเป็นข้อต่อ ตัวล็อกคานตงหรือตงเสริม,ตัวล็อกบันได ทุกส่วนของนั่งร้านที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้
8. ตรวจสอบพื้นที่ใช้งาน สามารถรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปใช้งานบนพื้นที่ของนั่งร้านได้ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
9. ตรวจสอบการจับยึดตัวบันไดเข้ากับตัวนั่งร้าน จะต้องแน่นหนาและได้องศาของความลาดเอียง เท่ากับ 75 องศา ขึ้นลงได้สะดวก ไม่โยก ไม่สั่นคลอนและจะต้องเหลือปลายบันได้ไว้เท่ากับ ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
We have providing some worker to trained as qualification worker
The most of training program is has obseveral any hazards for a few matter all times
We here perparing for you / Let you to visit us / Welcome
คู่มือประกอบการเรียน
สาขา การก่อสร้างเบื้องต้น
ตำแหน่ง ช่างประกอบนั่งร้าน
(Scaffolding Basic fitter)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับกฏหมายที่ใช้ควบคุมงานนั่งร้าน
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาสาระของวิชาชีพงานติดตั้งนั่งร้านอย่างละเอียด และสามารถทดสอบเพื่อวัดผลการเรียนได้
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจในการเลือกใช้วัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือ
ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการจัดเก็บที่ถูกวิธี
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับนั่งร้านอย่างถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด รวมทั้งระบบการทำงานบนที่สูง
5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เพิ่มทักษะเกี่ยวกับการติดตั้งร้านทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปปฏิบัติงานได้ เมื่อได้รับการรับรองผล
ระยะเวลาในการฝึกอบรม ( 120 ชั่วโมง )
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอน ทางภาคทฤษฎี ไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง
2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอน ภาคภาษาอังกฤษ (ศัพท์เทคนิคเชิงช่าง) ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวนั่งร้าน ไม่ต่ำกว่า 100 ชั่วโมง
4. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการฝึกสอนเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยในการทำงานนั่งร้านบนที่สูง” อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง
5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะต้องได้รับการทดสอบฝีมือเพื่อรับรองผล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1. จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบความรู้ทั่วไปในงานก่อสร้างเบื้องต้น
2. จะต้องเป็นผู้ที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ไม่มีปัญหาเรื่อง สายตา การได้ยิน เป็นต้น
3. จะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาทางด้านความดันโลหิต(โรควูบ) และสภาพร่างกายโดยรวม
4. จะต้องเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาทางด้านจิตใจอย่างร้ายแรง
5. จะต้องเป็นผู้ที่มีความสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ได้อย่างชัดเจนต่อการปฏิบัติงาน
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนั่งร้าน
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ “บัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับงานนั่งร้าน”
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2508)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้กำหนดวิชาชีพวิศวกรรมในสาขา แขนง และขนาด ดังต่อไปนี้ เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สาขา 1 วิศวกรรมโยธา
1. งานออกแบบและคำนวณ หมายถึง การใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมโยธา เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดในการก่อสร้าง โดยแสดงเป็นแบบรูป ข้อกำหนด และประมาณการ
2. งานควบคุมการก่อสร้าง หมายถึง การอำนวยการควบคุมดูแลการก่อสร้าง ในสาขาวิศวกรรมโยธา ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ แบบรูป และข้อกำหนด
3. งานพิจารณาตรวจสอบ หมายถึง การค้นคว้า การวิเคราะห์ การทดสอบ การหาข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ประกอบการตรวจสอบวินิจฉัยงานในสาขาวิศวกรรมโยธา
4. งานวางโครงการก่อสร้าง หมายถึง การวางแผนผังหรือการวางแผนงานการก่อสร้าง
ในสาขาวิศวกรรมโยธา
5. งานให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ข้อแนะนำ และหรือการตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา ตาม 1, 2, 3 หรือ 4
งานในสาขาวิศวกรรมโยธาดังกล่าวข้างต้นนี้ ต้องมีลักษณะ ขนาด หรืออยู่ในประเภท
ดังต่อไปนี้
(1) อาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างห่างจากทางสาธารณะไม่เกินสิบสี่เมตร
(2) โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าเพลาขึ้นไป
(3) อาคารถาวรที่ใช้เป็นอาคารสาธารณะหรือเป็นที่อยู่อาศัยของบุคคลจำนวนมาก เช่น
โรงมหรสพ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม ภัตตาคาร หอประชุม หอสมุด อาคารแบบแฟลต หรืออาคารอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(4) สะพานที่มีช่วงระหว่างศูนย์กลางตอม่อช่วงให้ช่วงหนึ่งยาวตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
(5) ท่าสำหรับเทียบเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่หนึ่งร้อยตันขึ้นไป
(6) อู่เรือหรือคานเรือ สำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ห้าสิบตันขึ้นไป
(7) เขื่อนกั้นน้ำที่ต้องรับความดันของน้ำหลังเขื่อนที่มีความลึกตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
(8) กำแพงกันดินที่ต้องรับความดันของดินหลังกำแพงที่มีความสูงตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
(9) โครงสร้างสำหรับรองรับถังน้ำ ถังน้ำมัน หรือสำหรับใช้ในการรับส่งวิทยุหรือ
โทรทัศน์ หรือใช้ในการอื่นใดที่มีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป เว้นแต่โครงสร้าง
ชั่วคราว ที่ใช้กับกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
(10) ปล่องไฟหรือเสาที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ และมีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป เว้นแต่ปล่องไปหรือเสาที่ปลูกสร้างหรือปักไว้ชั่วคราว
(11) ถังเก็บของไหล เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำมัน ที่มีความจุตั้งแต่หนึ่งร้อยลูกบาศก์เมตรขึ้นไป
(12) ทางรถไฟ หรือทางรถราง ซึ่งมีความยาวตั้งแต่สิบกิโลเมตรขึ้นไป
(13) ทางประเภททางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด ทางหลวงเทศบาล และทางหลวงสัมปทาน ตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
(14) สนามบิน ทางวิ่ง หรือลานจอดเครื่องบิน
(15) อุโมงค์สาธารณะ
(16) สระว่ายน้ำสาธารณะ
(17) งานผลิตน้ำประปาสำหรับประชาชนที่มีปริมาณการผลิตตั้งแต่หนึ่งพันลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2508)
ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
พ.ศ. 2505
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพควบคุมตามประเภท และสาขาที่
ได้ ระบุไว้ในใบอนุญาต ภายในข้อกำหนดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
สาขา 1 วิศวกรรมโยธา
ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาวิศวกรรมโยธาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ได้ดังต่อไปนี้
ก. ภาคีวิศวกร
1. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 1 (1) เฉพาะอาคารสามชั้น
2. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 2 (1) ถึง (17)
3. งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 3 (1) ถึง (17)
ข. สามัญวิศวกร
งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธา ตาม 1, 2, 3 และ 4 ทั้งนี้ตั้งแต่ (1) ถึง (17)
ค. วุฒิวิศวกร
งานในสาขา 1 วิศวกรรมโยธาทุกอย่าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515
จึงเห็นสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2519
เพื่อกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความ ปลอดภัยสำหรับลูกจ้างในงานก่อสร้างได้เป็นไปโดยเหมาะสมยิ่งขึ้น
กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2519
ข้อ 2 ประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ว่าด้วยนั่งร้าน”
ข้อ 3 ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ 4 ในประกาศนี้
“งานก่อสร้าง” หมายความว่า การประกอบการเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง
ท่าเรือ ทางน้ำ ถนน การโทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซ หรือประปา และหมายความรวมถึงการต่อเติม
ซ่อมแซม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ด้วย
“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามความหมายที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
“นั่งร้าน” หมายความว่า ที่ปฏิบัติงานซึ่งจัดไว้สูงจากพื้นดิน หรือส่วนของอาคาร หรือส่วนของงานก่อสร้าง
สำหรับเป็นที่รองรับของผู้ปฏิบัติงาน และ หรือวัสดุในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว
“นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว” หมายความว่า นั่งร้านซึ่งมีที่ปฏิบัติงานเป็นคานยึดติดกับเสาแถวเดี่ยว
ข้อ 5 ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่
(1) งานก่อสร้างอาคารที่ใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่และมีความสูงจากพื้นดินถึงคานรับหลังคา ไม่เกิน 7.00 เมตร
(2) งานซ่อมแซม หรือตกแต่งอาคาร โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานคราวละไม่เกินสองคน
(3) งานติดตั้งประปา ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อื่นๆ โดยใช้ผู้ปฏิบัติงานนั้นคราวละไม่เกินสองคน
หมวด 1
งานก่อสร้าง
ข้อ 6 การทำงานก่อสร้างซึ่งมีความสูงเกิน 2.00 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านสำหรับการก่อสร้างงานนั้น
หมวด 2
แบบนั่งร้าน
ข้อ 7 นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวที่สูงเกิน 7.00 เมตรขึ้นไป หรือนั่งร้านที่สูงเกิน 21.00 เมตรขึ้นไป
นายจ้างต้องจัดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว กำหนด
เป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน
ข้อ 8 นั่งร้านเสาเรียงเดียวที่สูงไม่เกิน 7.00 เมตร หรือนั่งร้านที่สูงไม่เกิน 21.00 เมตร
นายจ้างต้องจัดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว. กำหนด
เป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน หรือจะใช้ตามนั่งร้านมาตรฐานประเภทต่างๆ ตามกำหนดในข้อ 12 ก็ได้
ข้อ 9 ในกรณีที่นายจ้างจะให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ ก.ว.
กำหนดเป็นผู้ออกแบบและกำหนดรายการละเอียดนั่งร้าน อย่างน้อยต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ต้องใช้ไม้ที่ไม่ผุเปื่อย ไม่มีรอยแตกร้าวหรือชำรุดอื่นๆ
ที่จะทำให้ไม้ขาดความแข็งแรงทนทาน
และจะต้องมีหน่วยแรงดัดประลัย (Ultimate Bending Stress) ไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสี่เท่าของแรงดัดประลัย เว้นแต่ไม้ที่ใช้เป็นไม้ไผ่
ต้องมีหลักฐานเอกสารในการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุที่จะใช้จากสถาบันที่ทางราชการเชื่อถือได้
มีส่วนปลอดภัยเพียงพอ และให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 11 (6)
ถ้าสร้างด้วยโลหะ ต้องเป็นโลหะที่มีจุดคราก (Yield Point) ไม่น้อยกว่า 2,400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
และมีส่วนปลอดภัยไม่น้อยกว่าสองเท่าของจุดคราก
(2) นั่งร้านต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งานสำหรับ
นั่งร้านที่สร้างด้วยโลหะและไม่น้อยกว่าสี่เท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งานสำหรับนั่งร้านที่สร้าง ด้วยไม้
(3) ที่รองรับนั่งร้านต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ไม่น้อยกว่าสองเท่าของน้ำหนักแห่งการใช้งาน
(4) โครงนั่งร้านต้องมีการยึดโยง ค้ำยันหรือตรึงกับพื้นดิน หรือส่วนของงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันมิให้เซหรือล้ม
(5) ต้องมีราวกันตกมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 1.10 เมตร จากพื้นนั่งร้าน
ตลอดแนวยาวด้านนอกของพื้นนั่งร้าน นอกจากเฉพาะช่วงที่จำเป็นเพื่อขนถ่ายสิ่งของ ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(6) ต้องจัดให้มีพื้นนั่งร้านปูติดต่อกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร ยึดกับตงให้แน่น ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(7) ต้องจัดให้มีบันไดภายในของนั่งร้าน โดยใช้ไม้หรือโลหะ มีความเอียงลาดไม่เกิน 45 องศา ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว
(8) ต้องออกแบบเผื่อไว้ให้นั่งร้านสามารถรับน้ำหนักผ้าใบ สังกะสี ไม้แผ่น
หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 10 และข้อ 11 (7) ด้วย
หมวด 3
การสร้างนั่งร้าน
ข้อ 10 การสร้างนั่งร้าน นายจ้างต้องดำเนินการตามแบบและรายละเอียดตามข้อ 9 และตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ ถ้ายึดด้วยตะปู จะต้องใช้ตะปูขนาดและความยาวเหมาะสม
และจะต้องตอกให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับข้อต่อหนึ่งๆ เพื่อให้มีความมั่นคงแข็งแรง
จะตอกตะปูในลักษณะรับแรงถอนโดยตรงมิได้ และต้องตอกให้สุดความยาวของตะปู
เมื่อรื้อนั่งร้านออก จะต้องถอนตะปูจากไม้นั่งร้านหรือตีพับให้หมด
(2) นั่งร้านที่มีการใช้ลิฟท์ขนส่งวัสดุขึ้นลง ต้องจัดให้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกนั่งร้านในระหว่างนำวัสดุขึ้นลงได้
(3) ห้ามมิให้สร้างนั่งร้านยึดโยงกับหอลิฟท์
(4).ต้องจัดให้มีผ้าใบ หรือสังกะสี หรือไม้แผ่น หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันปิดรอบนอกของนั่งร้าน
ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของตก
(5).เหนือช่องที่กำหนดให้เป็นทางเดินต้องปิดคลุมด้วยผ้าใบ หรือสังกะสี หรือไม้แผ่น หรือวัสดุอื่นที่คล้ายกัน
เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินนั้น
หมวด 4
การใช้นั่งร้าน
ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดให้มีการใช้นั่งร้านเป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) ถ้านั่งร้านส่วนใดชำรุด หรือน่าจะเป็นอันตรายต่อการใช้นั่งร้านนั้น ต้องทำการซ่อมแซมส่วนนั้นทันที
และห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านส่วนนั้นจนกว่าจะซ่อมแซมเสร็จ
(2) ในขณะมีพายุ ห้ามมิให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน
(3) กรณีที่พื้นนั่งร้านลื่น ห้ามมิให้ใช้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้านส่วนนั้น
(4) ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม ต้องไม่ให้ใกล้เกินระยะที่กำหนดไว้
สำหรับแรงดันแต่ละระดับข้างล่างนี้ ทั้งในแนวระดับและแนวดิ่ง
เว้นแต่นายจ้างจะได้จัดให้มีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้านั้น เช่น ใช้ฉนวนหุ้มที่เหมาะสม
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 50 โวลท์ ถึง 12,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 12,000 โวลท์ ถึง 33,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.30 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 33,000 โวลท์ ถึง 69,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 69,000 โวลท์ ถึง 115,000 โวลท์
ระยะห่างไม่น้อยกว่า 5.30 เมตร สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เกิน 115,000 โวลท์ ถึง 230,000 โวลท์
ในกรณีที่มีการทำงานแบบนั่งร้านหลายๆ ชั้นพร้อมกัน ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ทำงานอยู่ชั้นล่างได้
(5) ในกรณีที่ใช้สารเคมีที่มีปฏิกิริยาทำให้เชือกหรือปอที่ผูกหรือมัดนั่งร้านเสื่อมคุณภาพได้
เช่น การใช้โซดาไฟบนนั่งร้านเพื่อทำความสะอาดภายนอกอาคาร ห้ามมิให้ใช้นั่งร้านที่ผูกหรือมัดด้วยเชือก หรือปอ
(6) ในกรณีที่ใช้มาตรฐานนั่งร้านประเภทต่างๆ ตามกำหนดในข้อ 12 ห้ามมิให้ใช้น้ำหนักบรรทุกนั่งร้าน
โดยเฉลี่ยเกินกว่า 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ระหว่างช่องเสา
สำหรับนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว ห้ามมิให้ใช้น้ำหนักบรรทุกบนนั่งร้านแต่ละชั้น
โดยเฉลี่ยแล้วเกินกว่า 50 กิโลกรัมต่อความยาว 1.00 เมตร
หมวด 5
นั่งร้านมาตรฐาน
ข้อ 12 นั่งร้านที่สูงไม่เกิน 21.00 เมตร และนายจ้างมิได้ให้ผู้ที่
ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่ ก.ว.กำหนด เป็นผู้ออกแบบนั่งร้าน
นายจ้างต้องจัดทำนั่งร้านให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามที่ระบุไว้ในข้อ 9 และข้อ 10
กับข้อกำหนดสำหรับนั่งร้านมาตรฐานประเภทต่างๆ ดัง ต่อไปนี้
(1) ประเภทนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยว สูงไม่เกิน 7.00 เมตร สำหรับปฏิบัติงานทาสี
(ก) ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำนั่งร้าน ไม่ไผ่ทุกลำจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 เซนติเมตร วัดตรงกลางท่อน
การต่อไม้ไผ่ให้ต่อทาบ มีความยาวของส่วนที่ทาบนั้นไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
มัดให้ติดกันด้วยวิธีขันชะเนาะไม่น้อยกว่าสองเปลาะ เชือกหรือปอที่ใช้สำหรับผูกลำ
ไม้ไผ่จะต้องเป็นเชือกหรือปอใหม่มีความเหนียวพอสมควร และจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
การตั้งเสาไม้ไผ่ ให้ตั้งห่างกันไม่เกิน 1.50 ไม้ไผ่ที่ทำคานให้ผูกติดกับเสาทุกต้น
เมื่อตั้งเสาให้ใช้ไม้ไผ่ทแยงมุมไม่เกิน 45 องศา กับแนวราบ โดยให้มัดยึดโยงกับเสาทุกต้นสลับฟันปลาตลอดแนว
แล้วให้ใช้ไม้ไผ่ผูกยึดนั่งร้านกับเสาสมอฝังดิน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 4.50 เมตร
ชั้นของนั่งร้านแต่ละชั้น จะมีระยะห่างกันเกิน 2.00 เมตรไม่ได้
(ข) ถ้าใช้ไม้ชนิดอื่นทำนั่งร้าน ไม้ทุกชิ้นจะต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัด
ไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตรและมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
ระยะห่างของเสาคานและระยะระหว่างชั้นของนั่งร้านให้จัดทำเช่นเดียวกับนั่งร้าน ไม้ไผ่ และใช้ตะปูเป็นเครื่องยึดนั่งร้าน
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักเกินน้ำหนักผู้ปฏิบัติงานและวัสดุเบาที่จะนำมาใช้งานไม่ได้
(2) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 7.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง
(ก) ถ้าใช้ไม้ไผ่ทำนั่งร้านไม้ไผ่ทุกลำจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 6 เซนติเมตร
วัดตรงกลางท่อน การต่อไม้ไผ่ให้ต่อทาบมีความยาวของส่วนที่ทาบกันไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร
โดยมัดให้ติดกันด้วยวิธีขันชะเนาะไม่น้อยกว่าสองเปลาะ เชือกหรือปอที่ใช้สำหรับผูกลำไม้ไผ่
จะต้องเป็นเชือกหรือปอใหม่ มีความเหนียวพอสมควรและจะต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
การตั้งเสาไม้ไผ่ ให้ตั้งห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร เป็นสองแถว และระยะระหว่างแถวคู่เสาต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
และไม่เกิน 79 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่ผูกเป็นคานยึดกับเสาทุกต้นทั้งสองข้าง ตงสำหรับรองรับพื้นให้ใช้ไม้เคร่า
ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตร ผูกติดกับคานไม้ไผ่ในระยะห่างกันไม่เกิน 50 เซนติเมตร
ไม้ที่ใช้ปูนั่งร้านให้ใช้ไม้ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ยึดติดตงให้แน่น
เมื่อตั้งเสาและผูกคานแล้ว ให้ใช้ไม้ไผ่ผูกทแยงกับเสาทุกต้น โดยทำมุมกับแนวราบไม่เกิน 45 องศา
โดยผูกสลับฟันปลาตลอดทั้งแถวหน้าและแถวหลัง
ให้ใช้ไม้ไผ่ผูกยึดนั่งร้านกับส่วนของอาคารซึ่งแข็งแรงพอ หรือผูกยึดกับเสาสมอฝังดิน แต่จะห่างกันเกิน 4.50 เมตรมิได้
ชั้นของนั่งร้านแต่ละชั้น จะมีระยะห่างกันเกิน 2.00 เมตร มิได้
(ข) ให้จัดทำราวกันตก โดยใช้ไม้ไผ่ผูกกับเสาตามแนวนอน ระยะความสูงจากพื้นนั่งร้านแต่ละชั้นไม่ต่ำกว่า 90 เซนติเมตร
และสูงไม่เกิน 1.10 เมตร ทุกชั้นของนั่งร้าน
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักจนเกิน 150 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มิได้
(3) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 12.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง
(ก) ต้องใช้เสาไม้ที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 33 ตารางเซนติเมตร และหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
การตั้งเสาแต่ละต้นห่างกันไม่เกิน 2.00 เมตร โดยตั้งเป็นสองแถวและระยะระหว่างแถวคู่เสาต้องห่างกัน
ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่เกิน 75 เซนติเมตร เสาไม้ต้องตั้งให้ได้ดิ่งกับพื้นดิน
การต่อเสาไม้ทุกแห่งต้องต่อด้วยวิธีชนกัน และมีทาบรอยชนกันทั้งสองด้าน
ไม้ทาบต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่าหน้าตัดของเสาและมีความยาวไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
ไม้ที่ใช้ทำคาน ต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 33 ตารางเซนติเมตร ไม้ดังกล่าวต้องมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และมีหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร ระยะห่างคานแต่ละชั้นไม่เกิน 2.00 เมตร
การต่อคานให้ต่อที่เสา คานให้ยึดติดกับเสา และต้องมีพุกรับทุกแห่ง
ไม้ที่ใช้ทำตง ต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 24 ตารางเซนติเมตร หน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
ระยะห่างของตงแต่ละอันไม่เกิน 50 เซนติเมตร และตงทุกอันต้องยื่นปลายออกจากคานไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
โดยยึดให้ติดกับคานทุกแห่ง
ไม้ที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าไม้ที่ใช้ทำตง ค้ำยันจากพื้นดินขึ้นไปโดยตลอดเป็นรูปสลับฟันปลา
และทแยงมุม 45 องศา ถึง 60 องศา
พื้นนั่งร้านให้ใช้ไม้ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ปูทับตรงรอยต่อของพื้นต้องปูชน
และให้เสริมตงรับปลายของพื้นทุกแห่งที่มีรอยต่อแล้วยึดกับตงให้แน่น
อุปกรณ์ที่ใช้ยึดนั่งร้านให้ใช้ตะปูที่มีความยาวพอเหมาะ หรือสลักเกลียวยึดทุกจุด
การยึดนั่งร้านติดกับอาคาร คาน หรือเสาคอนกรีตรอบนอกของอาคาร ให้ฝังเหล็กกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร
ยาวไม่นอยกว่า 30 เซนติเมตร ไว้ในคอนกรีตยื่นจากผิวคอนกรีตและมีระยะห่างกันไม่เกิน 2.00 เมตร
เหล็กกลมดังกล่าวให้ปล่อยโผล่ไว้ เพื่อยึดเสานั่งร้านโดยรอบอาคาร และให้จัดทำ
ไม้ค้ำยันป้องกันนั่งร้านเซหรือล้มเข้าหาอาคารทุกชั้นของอาคาร
นั่งร้านต้องทำบันไดสำหรับขึ้นไว้ภายใน โดยใช้ไม้ขนาดหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร
ตีเป็นลูกขั้นบันได ระยะของลูกขั้นบันไดห่างกันไม่เกิน 50 เซนติเมตรต่อขั้น บันไดแต่ละขั้นต้องทำให้เยื้องกัน
แต่ไม่เกิน 10.00 เมตร
(ข) ให้จัดทำราวกันตก โดยใช้ไม้ขนาดหน้าแคบไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
และหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร ติดตั้งเคร่าด้านในของเสาโดยรอบนั่งร้าน
ราวดังกล่าวต้องสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร
นั่งร้านประเภทนี้ จะใช้รับน้ำหนักจรเกิน 10 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มิได้
(4) ประเภทนั่งร้านสูงไม่เกิน 21.00 เมตร สำหรับงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตาม (3) ทุกประการ
เว้นแต่เสาไม้สี่เหลี่ยมต้องมีหน้าแคบไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร และให้เสาตั้งอยู่ห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร
หมวด 6
การคุ้มครองความปลอดภัย
ข้อ 13 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน หรือบนหรือภายใต้นั่งร้าน
หรือบริเวณใกล้เคียงกับนั่งร้าน ตามประเภทและลักษณะการทำงาน อันอาจได้รับอันตรายจากการทำงานนั้นๆ
สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะการทำงานและภาวะอันตรายที่อาจ
ได้รับตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ดังต่อไปนี้
(1) งานช่างไม้ สวมหมวกแข็งและรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(2) งานช่างเหล็ก สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(3)งานผสมปูนซีเมนต์ สวมหมวกแข็ง ถุงมือยาง หรือถุงมือที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
และรองเท้ายางชนิดหุ้มแข้ง
(4).งานก่ออิฐ ฉาบปูน หรือตกแต่งผิวปูน สวมหมวกแข็ง ถุงมือยาง หรือถุงมือที่ทำด้วยวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน
และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(5) งานประกอบโครงสร้าง ขนย้าย และติดตั้ง สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(6) งานทาสี สวมหมวกแข็ง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(7) งานประปา สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
(8) งานช่างกระจก สวมหมวกแข็ง ถุงมือผ้าหรือหนัง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง
ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในที่สูงเกิน 4.00 เมตร
ซึ่งมีลักษณะโดดเดี่ยวและไม่มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหรือการป้องกันอันตรายอย่างอื่น
สวมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดเวลาในการทำงาน
หมวด 7
มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ข้อ 15 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) หมวกแข็ง ต้องเป็นรูปโดมชั้นเดียว ไม่มีตะเข็บ ไม่มีรูทะลุ ตัวหมวกทำด้วยวัตถุที่ไม่ใช่โลหะหรือมีส่วนที่เป็นโลหะ
มีน้ำหนักไม่เกิน 420 กรัม เมื่อทดสอบการรับแรงกระแทก
และการรับแรงเจาะตามวิธีทดสอบต้องลึกไม่เกิน 1 เซนติเมตร ตามลำดับ
ส่วนบนสุดของรองในหมวกต้องมีระยะห่างจากยอดหมวกด้านในไม่น้อยกว่า 3 เซนติเมตร
(2) ถุงมือ ต้องมีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย มีความยาวหุ้มถึงข้อมือ
และเป็นชนิดที่สวมนิ้วมือได้ทุกนิ้วเมื่อสวมแล้วสามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้สะดวก
ถ้าเป็นถุงมือยางต้องสามารถกันน้ำและกรดหรือด่างได้ด้วย
(3) รองเท้าชนิดหุ้มส้นพื้นยาง ต้องทำด้วยหนังหรือผ้าหุ้มเท้าตลอดและมีพื้นรองเท้าเป็นยางสามารถป้องกันการลื่นได้
(4).เข็มขัดนิรภัยต้องทำด้วยหนัง หรือทำด้วยด้าย หรือใยไนล่อน
หรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันถักเป็นแถบมีความกว้างไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
สามารถทนแรงดึงได้ไม่น้อยกว่า 1,150 กิโลกรัม
(5) เชือกนิรภัย ต้องสามารถทนแรงได้ไม่น้อยกว่า 1,150 กิโลกรัม ถ้าเป็นลวดสลิงต้องมีเครื่องช่วยรับแรงกระตุกติดตั้งไว้ด้วย
(6) รองเท้ายางชนิดหุ้มแข้ง ต้องทำด้วยยางหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหุ้มเท้าตลอดขึ้นไป
มีความสูงไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของหน้าแข้ง สามารถกันน้ำและกรดหรือด่างได้ด้วย
หมวด 8
เบ็ดเตล็ด
ข้อ 16 ข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยตามประกาศนี้ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น
ข้อ 17 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2525
พลเอก สิทธิ จิรโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 99 ตอนที่ 103 วันที่ 30 กรกฎาคม 2525
บทที่ 2 อุปกรณ์และเครื่องมือในงานนั่งร้าน
รายการเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ ช่างประกอบนั่งร้าน (Scaffolding materials)
1. ทิ้วทุกขนาด (Tubes = ทิ้ว)
2. แผ่นปูพื้น ทุกขนาด (Steel/wooden plank = สะตีล / วูดเด้นปลั้ง)
3. แคล้มป์ล็อก (Fixed clamps /Right angel = ฟิกเซ็ทแคล้มป์)
4. แคล้มป์หมุน (Swivel clamps = สะเว้ล์ว แคล้มป์)
5. แผ่นรองเสา (Base plate = เบส เพลท)
6. บันได (Ladder = แลดเดอร์)
7. ล็อคบีม (Beam clamps = บีมแคล้มป์)
8. แคล้มป์ล็อกแผ่นพื้น (Boarding clamps = บอร์ดิ้ง แคล้มป์)
9. ข้อต่อใน (Internal joint pin = อินเทอร์นอลจ้อยท์พิน)
10. ข้อต่อนอก (Sleeve Coupler)
11. ซิงเกิ้ลล็อก (Single lock/Put lock = ซิงเกิ้ลล็อก)
12. แคล้มป์ยึดบันได (Ladder clamps = แลดเดอร์แคล้มป์)
13. ลูกบันได (Step ladder = สะเต็ปแลดเดอร์)
14. จุกอุดทิ้ว (Tube safety caps = ทิ้วเซฟตี้แค็ป)
15. ลวดมัดแผ่นพื้น (Ties wires = ไต้ไว้เออร์)
16. ล้อเลื่อน (Castle wheels = คัสเติ้ลวีล)
17. รอก (Gin wheels = จินวีล)
18. ตะกร้านิรภัย (Couplers safety bag = คู้ปเปล้อร์ เซฟตี้แบ็ก)
รายการเครื่องมือ ช่างประกอบนั่งร้าน (Scaffolding Tools)
1. ประแจหางหนู No.17/19 No.19/ 21 (Double spanner/Wrench)
2. ระดับน้ำ (Sprit level = สะปริต เลเวล)
3. ตลับเมตร (Measuring tape = มิเซอร์ริ่งเทป)
4. คีมตัดลวด (Cutting pier = คัทติ้ง ไพเออร์)
5. ถุงมือหนังชนิดพิเศษ (Leather Hands gloves = ลีเทอร์แฮนด์โกลฟ)
6. สายเข็มขัดนิรภัย (Safety Harness full body = เซฟตี้ฮาเนสฟูลบอดี้)
บทที่ 3 ความหมายของโครงสร้างนั่งร้านแบบมาตรฐานสากล
ความหมายแต่ละส่วนของโครงสร้างนั่งร้าน
1. Bay length ( เบย์ เล้นท์ ) คือ ช่องว่างระหว่างเสา เป็นพื้นที่ในรูปลักษณะที่แตกต่างกันตามกำหนด ตามมาตรฐานของแต่ละโครงสร้างโดยกำหนดระยะห่างเท่ากับ1.5-2.00เมตร
2. Lift ( ลิฟท์ ) คือ ระดับชั้นของโครงสร้าง ต่อ 1 โครงสร้างในระดับแนวระนาบกับพื้นดิน เริ่มนับตั้งแต่คานตัวแรกขึ้นไปโดยกำหนดระยะห่างเท่ากับ ไม่เกิน 2.20 เมตร
3. Foot lift ( ฟุต ลิฟท์ ) คือ ตงเหยียบตัวแรกที่ยึดติดอยู่กับเสาเหนือระดับพื้นดินไม่เกิน 1 ฟุต จะติดตั้งอยู่บนคานตัวแรกเสมอ
4. Standard ( สแตนดาร์ท ) คือ เสา เป็นส่วนสำคัญอันดับแรกที่จะต้องทำการติดตั้งก่อนตามขนาดที่กำหนดและทำหน้าที่เป็นตัวหลักของโครงสร้างทั้งหมด
5.Ledger ( ลีด เกอร์ ) คือ ทิ้วของนั่งร้านที่อยู่ในลักษณะแนวยาว ทำหน้าที่ยึดแนวเรียงของเสา เพื่อจัดความถี่ ระยะห่างของเสาให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างสวยงามและแข็งแรง จะอยู่ใต้ล่างของตงหลักเสมอ
6. Transom ( ทรานซ์ ซอม ) คือ ตงหลักที่ยึดอยู่กับเสาแนบชิดกันกับคานล่างตัวแรก เป็นส่วนที่ยึดโครงสร้างควบคู่กันกับเสา/คาน ให้เป็นรูปลักษณะตามกำหนด ทั้งนี้ ตงมีอยู่ 2 ประเภท คือตงหลักและตงเสริม(Intermediate transom) ตงเสริม จะทำหน้าที่รองรับแผ่นปูพื้นอยู่ตรงกลางเสมอ
7. Brace ( บราซ ) คือ ตัวค้ำยัน ทำหน้าที่ยึดและจัดระดับความเที่ยงตรงของเสา ให้เกิดความแน่นหนา แข็งแรงต่อโครงสร้างของนั่งร้าน ตัวค้ำยันแยกออกได้หลายประเภท ดังนี้
(1) Facade brace (ฟาเคด บราซ) คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างของนั่งร้านไม่ให้โยกเยกสั่นคลอนไปมา ลักษณะค้ำยันแบบนี้ส่วนมากจะใช้ทิ้วที่มีความยาวตั้งแต่ 4-6 เมตร
(2) Ledger brace ( ลีดเกอร์ บราซ ) คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่ค้ำยันระหว่างความห่างของเสาในลักษณะแนวเฉียงทะแยงมุม เพื่อทำหน้าที่ยึดโครงสร้างแต่ละชั้นให้แข็งแรง
(3) Plan brace ( เปลน บราซ )คือ ตัวค้ำยันที่ทำหน้าที่ยึดจากเสาหนึ่งไปยังอีกเสาหนึ่งในลักษณะทแยงมุม ส่วนมากค้ำยันแบบนี้จะเป็นของนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile)
(4) Knee brace ( นี บราซ )คือ ตัวค้ำยันในลักษณะข้อพับหัวเข่า จะอยู่ด้านความกว้างของนั่งร้านเสมอ จะติดตั้งตามรูปแบบที่กำหนด คือแบบซิกแซก หรือแบบฟันปลา อย่างใดอย่างหนึ่ง
8. Puncheon ( ปัน เจิน ) คือ เสาลอยที่จับยึดจากคานหรือตง ในลักษณะแนวตรงเท่านั้น เพื่อทำหน้าที่ต่อเติม เสริมมาในส่วนของโครงสร้าง ส่วนมากจะทำหน้าที่ยึดแผ่นกั้นกันตกรวมทั้งราวกันตก หรือส่วนที่ต้องการต่อเติม
9. Rake/Spur ( แร้ค/ สะเปอร์ ) คือ เสาลอยพิเศษที่ติดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งของโครงสร้าง ในลักษณะแนวตรงและแนวเฉียง ส่วนมากจะเป็นงานดัดแปลงแก้ไขเพื่อให้ความแข็งแรงของพื้นที่การทำงานสามารถรองรับน้ำหนักได้เป็นจำนวนมากเหมือนกันกับโดครงสร้างของเสา
10. Guardrail ( การ์ด แรล ) คือ ราวกันตก เป็นโครงสร้างสุดท้ายของโครงสร้างนั่งร้านที่ทำหน้าที่ป้องกันการพลัดตกขณะทำงาน เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของความสมบูรณ์แบบของนั่งร้าน โดยกำหนดระยะห่าง เท่ากับ ไม่เกิน 1.10 เมตรไม่ต่ำกว่า 90 ซม.
11. Butt tube ( บัท ทิ้ว ) คือ ทิ้วสั้นที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างนั่งร้านแบบแขวนห้อย จะทำหน้าที่รองรับช่างนั่งร้านระหว่างการติดตั้งและรื้อถอน
12. Toe board ( โต บอร์ด ) คือ แผ่นกั้นกันตก ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์การทำงานที่นำขึ้นไปบนพื้นของนั่งร้านและการสะดุดล้มจากการทำงาน แผ่นกั้นกันตกจะติดตั้งไว้โดยรอบ ทั้งด้านกว้างและด้านยาว ยกเว้นทางขึ้นลงบันได
13. Working platform ( เวิร์คกิ้ง เพลทฟอร์ม ) คือ พื้นที่การทำงาน เป็นส่วนที่สำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้งานของนั่งร้าน จะต้องมีการผูกมัดอย่างแน่นหนาและประชิดกันอย่างแนบสนิท เพื่อป้องกันอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีรูปร่างเล็กๆตกหล่นลงมายังพื้นดิน
14. Coupler ( คู้ปเปล้อร์) คือ อุปกรณ์ที่จับยึดทุกส่วนของโครงสร้างนั่งร้านให้เป็นไปตามกำหนด เช่น แคล้มป์ทุกประเภท ข้อต่อทุกประเภท เป็นต้น
15. Sole board ( โซล บอร์ด ) คือ แผ่นรองพื้นที่แนบสนิทอยู่กับพื้นดินเพื่อทำหน้าที่รองรับแผ่นรองเสา จะต้องเป็นแผ่นไม้ที่มีความแข็งแรงอย่างมาก
16. Ladder ( แลดเดอร์ ) คือ บันได ทำหน้าที่เป็นทางขึ้นลงต่อนั่งร้าน 1 โครงสร้าง การติดตั้งบันไดจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่อโครงสร้างนั่งร้าน และมาตรฐานความลาดเอียงของบันไดเมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว จะเท่ากับ 75 องศา ปลายสุดของบันไดจะต้องเหลือไว้เท่ากับ ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร บันไดที่ใช้กับนั่งร้านมีอยู่ 2 ประเภท คือ บันไดอะลูมิเนียมและบันไดบีม บันไดบีมจะใช้ในกรณีของนั่งร้านแขวนห้อยเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวยึดโครงสร้างทั้งหมดให้แข็งแรงและมั่นคง อุปกรณ์ที่จับยึดบันไดส่วนมากจะมีอุปกรณ์เฉพาะอยู่แล้วห้ามใช้อุปกรณ์อื่นที่มีความเสี่ยงต่อการขึ้น-ลง หรือผิดรูปแบบ
Right angle / Fixed clamp / Swivel clamp
Two ways fixed clamp / Two ways Swivel clamp
ภาพแสดงส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการจับยึดทุกส่วนของโครงสร้างนั่งร้านที่มีคุณสมบัติพิเศษ
เป็นเนื้อโลหะชนิดอัลลอยชุบโครเมียม ในลักษณะสองทิศทางที่เป็นอุปกรณ์ออกแบบพิเศษเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการใช้งานควบคู่กันกับอุปกรณ์ประเภทอื่นๆที่ขนาดที่แตกต่างกันตามที่
สังเกตเห็นในภาพ และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อเพลิง อุปกรณ์ชนิดนี้จะง่ายต่อการใช้งานเนื่องจากได้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับผิวสัมผัสของทิ้วอย่างลงตัว
แต่จะมีข้อเสียก็คืออุปกรณ์ชนิดนี้ จะมีขีดจำกัดในการรัดตัวเอง นั้นหมายถึงถ้าหมุนเกลียวล็อกแน่นเกินไปจะทำให้แตกร้าวได้ คลายตัวได้ง่าย เกิดจากคุณสมบัติของเนื้อโลหะชนิดนี้ นั่นเอง
Sleeve coupler Single clamp
ภาพแสดงในส่วนของอุปกรณ์ในการจับยึด ชนิดโลหะที่เป็นเหล็กกล้า 70 % เคลือบด้วยกาวไนซ์ผสมสีชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติพิเศษในการมองเห็นได้อย่างเด่นชัด และมีความยืดหยุ่นสูง คลายตัวยากเมื่อหมุนเกลียวล็อกแน่น จึงนิยมใช้ในส่วนของโครงสร้างที่ต้องการรองรับน้ำหนักจำนวนมากเป็นพิเศษ ข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้ คือพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดความเสียหายที่เกลียวของตัวล็อก จะทำให้อายุการใช้งานน้อยลง
Beam clamp (Js.) Fixed clamp
บีมแคล้มป์ คืออปุกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดต่อโครงส้รางนั่งร้านประเภทนั่งร้านแขวน (Hanging suspended)
(Js.) Swivel clamp (Bs.) Single Holding
ภาพแสดงเครื่องมือทุกชิ้นในการทำงานนั่งร้านแบบมาตรฐาน (BS)
บทที่ 4 รูปแบบและประเภทของนั่งร้าน
รูปแบบของนั่งร้านแบบมาตรฐานประเภทต่างๆ
ประเภทของนั่งร้านที่ใช้เป็นรูปแบบในการติดตั้งเพื่อรองรับการทำงานแต่ละประเภทของผู้ขอใช้บริการนั่งร้านนั้น มีอยู่หลากหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีรูปร่างและขั้นตอนในการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากที่สุดจากการคัดเลือกประเภทของนั่งร้านต่อพื้นที่นั้นๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างประกอบนั่งร้านจะต้องคำนึงรูปแบบของนั่งร้านเป็นอันดับแรก ดังนั้นรูปแบบของนั่งร้านที่เป็นมาตรฐานสากลได้กำหนดไว้เป็นรูปแบบพื้นฐาน 3 ประเภท
1. นั่งร้านแบบหอสูง หรือ กล่องลิฟท์ (Standing Tower) เป็นรูปแบบของนั่งร้านที่นิยมติดตั้งกันทั่วไป ตามงานก่อสร้างอาคาร , บ้านเรือน , ตึกสูง งานก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นต้น
ในรูปแบบของทางขึ้น-ลง สำหรับพื้นที่การทำงานบนที่สูง ซึ่งรูปร่างของนั่งร้านโดยรวมของโครงสร้างนั้นจะมีด้านกว้างและด้านยาวเท่ากันเสมอ ส่วนความสูงนั้นจะคำนึงถึง
อัตราส่วนของฐานล่าง เท่า 1 ต่อ 2
นั่งร้านแบบหอสูงยังเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมติดตั้งเป็นนั่งร้านเคลื่อนที่ (Mobile scaffold) ซึ่งอาศัยหลักการประกอบเช่นเดียวกัน แต่ข้อกำหนดของนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
• มีการจำกัดความสูงไว้ไม่เกิน 4 เมตร/ 4 ล้อเลื่อน
• กรณีที่ใช้ความยาว ไม่เกิน 3 เมตร ความสูงไม่เกิน 6 เมตร/ 6 ล้อ
• มีพื้นที่การทำงานได้เพียง 1 ชั้นเท่านั้น
• มีทางขึ้น-ลงที่สามารถเปิด-ปิดได้อย่างปลอดภัย
• ไม่ควรติดตั้งบันไดให้ลาดเอียงเกินกว่ากำหนดไว้ 75 องศา
• ต้องมีค้ำยัน ด้านหน้าแปลน (ยึดอยู่กับเสาตรงข้ามทแยงมุมกัน)
• ล้อเลื่อนที่ใช้ควรได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นมาตรฐานในการรองรับน้ำหนัก
(อย่างน้อย ไม่ต่ำกว่า 1,500 กก./ 1 ล้อ)
(ดูภาพตัวอย่าง)
ภาพแสดงนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ (Mobile scaffolding)
2. นั่งแบบหอสูง ประเภทที่ติดตั้งกับพื้น (เคลื่อนที่ไม่ได้) (Standing column)
รูปแบบของนั่งร้านประเภทนี้ส่วนมาก จะทำการติดตั้งเพื่อเป็นทางขึ้น-ลง มีรูปร่างเหมือนกล่องลิฟท์ สามารถประกอบและติดตั้งได้สูงมากตามลักษณะงาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง ศักยภาพโดยรวมของนั่งร้านประเภทนี้ คือสามารถรองรับน้ำหนักได้ มากกว่า ประเภทอื่นๆ เมื่อเทียบ 1 ต่อ 1 ตร.ลบม.นั้นก็หมายถึง จะเป็นการรองรับน้ำในลักษณะที่โครงของเสา (Column tower) โดยจะมีส่วนประกอบต่างๆตามข้อกำหนดดั่งนี้
• ด้านความกว้างและความยาว จะเท่ากัน เสมอ (ตามขนาดที่กำหนด)
• ตัวอย่างอัตราส่วนของโครงสร้าง คือ
• ฐาน 2 x 2 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 6 เมตร
• ฐาน 3 x 3 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 12 เมตร
• ฐาน 4 x 4 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 20 เมตร (ต้องมีการขอใบอนุญาต)
• ฐาน 6 x 6 m. จะติดตั้งความสูงได้ไม่เกิน 25 เมตร
• ฐาน ตั้งแต่ 12 x 12 m. ขึ้นไป จะสามารถติดตั้งได้สูงกว่า 30 เมตร (ในกรณีที่นั่งร้านมีความสูง เกิน 30 เมตร จะต้องทำการเสริมความกว้างของฐานทันที)
(ดูภาพตัวอย่าง)
Standing tower access
3. นั่งร้านแบบอิสระ (Independent access) เป็นนั่งร้านประเภทที่พบเห็นมากในสถานที่ก่อสร้างทั่วไป เนื่องจากนั่งร้านแบบอิสระได้กำหนดรูปแบบมาใช้งานในด้านนี้โดยเฉพาะ ทั้งงานภายในและภายนอก โดยมีข้อกำหนด ดั่งนี้
• จะมีด้านกว้างที่น้อยกว่าด้านยาว 1 เท่า ตามอัตราส่วน
• จะมีความกว้าง ไม่เกิน 2 เมตรและจะมีความสูงไม่เกิน 12 เมตร
• ในกรณีที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ต้องมีค้ำยันฐานพิเศษ (Out-rigger) เช่นเดียวกันกับฐานของการติดตั้งของรถเครน
• จะต้องมีการจับยึดโครงสร้างของนั่งร้านเข้ากับส่วนประกอบอื่นๆของโครงสิ่งก่อสร้างที่ได้จัดเตรียมไว้อย่างแน่นหนา ทุกๆ 6 เมตร
• จะต้องติดตั้งบันไดทางขึ้น-ลง เป็นลักษณะกล่องลิฟท์เป็นส่วนยื่นเฉพาะของโครงสร้างนั่งร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
(ดูภาพตัวอย่าง)
ภาพนั่งร้านแบบอิสระ (Independent scaffolding)
4. นั่งร้านแบบรังนก หรือ เวที (Birdcage scaffolding) เป็นนั่งร้านที่พบเห็นควบคู่อยู่กับประเภทนั่งร้านแบบอิสระ แต่จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันก็คือ นั่งร้านแบบรังนกจะติดตั้งเพื่อเป็นพื้นรองรับแบบเทพื้นคอนกรีต หรือต้องการใช้พื้นที่ ที่ทำงานเป็นลักษณะที่กว้างมาก เพื่อรองรับคนงานและอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปใช้งานบนพื้นที่ของนั่งร้าน โดยมีข้อกำหนดดั่งนี้
• จะมีความกว้างและความยาวเท่ากัน โดยไม่ต่ำกว่า 3 เมตรและไม่เกิน 15 เมตร
• จะมีระยะห่างระหว่างเสาที่ถี่มาก แต่ไม่น้อยกว่า 1.2 เมตร
• จะมีเสาโดยรอบนอกทำหน้าที่เป็นราวกันตก เสาด้านในทั้งหมดจะต้องไม่โผล่ขึ้นมาเกะกะในการทำงาน (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ขอใช้บริการนั่งร้าน)
• ความเหมาะสมของทางขึ้น-ลง จะต้องติดตั้งไว้ทั้งหมด 4 มุม (ในกรณีที่มีความกว้างและความยาวเกิน 10 เมตร
(ดูภาพตัวอย่าง)
รูปแบบต่างๆของนั่งร้านประเภทรังนก หรือแบบเวที (Birdcage access)
5. นั่งร้านแบบเสริมพิเศษ (Suspended scaffolding) เป็นนั่งร้านประเภทที่เสริมหรือปรับปรุงรูปแบบขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานบนที่สูงเฉพาะที่ ในส่วนที่ยื่นออกมาจากบริเวณที่ทำงานไม่สะดวก ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท ดั่งนี้
• นั่งร้านแขวน (Hanging access) เป็นนั่งร้านที่มีโครงสร้างทั่วไปเหมือนกันกับนั่งร้านหอสูง ที่ทุกส่วนของโครงสร้างของนั่งร้านจะยึดกับโครงสร้างของงานอย่างแน่นหนา โดยมีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ ล็อกบีม และจะมี
แคล้มป์ล็อกเป็นตัวยึดกันรูดไว้ด้านล่างนั่งร้านประเภทนี้ จะต้องอาศัยช่างที่มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ-ประสบการณ์เป็นอย่างมาก (ดูตัวอย่างภาพ)
จะสังเกตเห็นได้จากภาพ โครงสร้างของนั่งร้านแบบแขวน (Hanging scaffolding) ส่วนของโครงสร้างที่จะต้องคำนึงมากที่สุดคือ ฐานด้านล่างจะต้องให้แข็งแรงที่สุด ตามขีดจำกัดการรองรับน้ำหนักของผู้ใช้บริการ จะมีบันไดบีมเป็นตัวกำหนด
• นั่งร้านแบบแขวนลักษณะ ทางเดิน (Walk way) เป็นนั่งร้านที่ดัดแปลงรูปแบบมาจากนั่งร้านแบบอิสระที่มีโครงสร้างเป็นนั่งร้านแขวน แต่จะมีค้ำยันด้านล่างและมีขีดจำกัดด้านความกว้าง ไม่เกิน 1.5 เมตร (ดูตัวอย่างภาพ)
ภาพแสดงนั่งร้านที่เป็นลักษณะทางเดินโดยรอบบริเวณที่ทำงาน จะติดตั้งเป็นส่วนยื่นออกมา
เพื่อรองรับน้ำหนักเฉพาะที่ตกกระทบทางเดิน
6. รูปแบบโดยทั่วไปที่ใช้อุปกรณ์นั่งร้านติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวก อย่างเช่น ติดตั้งเป็นรั้วกั้น เป็นบริเวณเก็บของ ฯลฯ ตามลักษณะงานและรูปแบบที่กำหนด
(ดูตัวอย่างภาพ)
Emergency temporary support and walkways by framing access
กระบวนการและขั้นตอนการติดตั้งนั่งร้าน
การเตรียมการติดตั้งนั่งร้านเพื่อความปลอดภัย
1. จะทำการติดตั้งนั่งร้านเพื่ออะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
2. ทำการตรวจสอบสภาพพื้นที่ว่าอยู่ในลักษณะอย่างไร ลักษณะพื้นที่ ที่ไม่ควรติดตั้งนั่งร้านตามข้อกำหนด ดั่งนี้
• บริเวณที่เป็นหลุม เป็นบ่อลึกเกิน 80 ซม. และเสี่ยงต่อการทรุดตัวของหน้าดินที่จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างนั่งร้าน หากมีข้อยกเว้น ควรทำการติดตั้งโครงสร้างให้ห่างจากหลุม ไม่ต่ำกว่า 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูงของโครงสร้างนั่งร้าน
• บริเวณที่ใกล้ชุมสายไฟฟ้าแรงสูง เนื่องจากวัสดุ-อุปกรณ์ของโครงสร้างนั่งร้านเป็นโลหะชนิดนำกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี หากมีข้อยกเว้น ควรทำการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณนั้นก่อน และต้องมีใบอนุญาตจากผู้ควบคุมดูแลด้วย
• บริเวณที่เป็นสถานีหรือหัวฉีดดับเพลิง ไม่ว่าจะกรณีใดๆบริเวณนี้ไม่ควรทำการติดตั้งนั่งร้าน จะทำให้การทำงานของระบบดับเพลิงมีปัญหาตามมาภายหลัง
• บริเวณที่เก็บกักสารเคมีและวัตถุไวไฟ หากมีข้อยกเว้น ควรได้รับอนุญาตจากผู้ที่รับผิดชอบพื้นที่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และควบคุมดูแล จัดเตรียมการป้องกันภัยอย่างใกล้ชิด
• บริเวณที่มีการปิดป้ายต้องห้ามพิเศษ (Restricted area) อย่างเช่น บริเวณที่ทำการ เอ็กซ์เรย์ (X-ray) ฉายฟิล์ม เป็นต้น หรือตรวจสอบพื้นที่อยู่
• บริเวณที่อับอากาศ (Confine space) สถานที่เหล่านี้จะมีอากาศหายใจที่น้อยกว่าพื้นที่ธรรมดาหลายเท่า เนื่องจากระดับของออกซิเจนถูกทำลายด้วยสารเคมีปนเปื้อนชนิดอื่นๆ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของผู้ที่จะเข้าไปทำงาน
หากมีข้อยกเว้น ควรจะได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในสถานที่อับอากาศก่อน
3. เลือกรูปแบบและประเภทของนั่งร้านให้เหมาะสมกับพื้นที่
4. วางแผนการติดตั้งและประเมินความเสี่ยงตลอดระยะเวลาของการทำงาน
5. ตรวจสอบรายการอุปกรณ์นั่งร้านและอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เพียงพอ
6. การให้คำปรึกษา คำแนะนำเพิ่มเติมทุกๆระยะ บริเวณที่ทำงาน
7. ทำการติดตั้งนั่งร้านตามขั้นตอน ตามแบบมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้อย่างระมัดระวัง
8. ทำการตรวจสอบตามรายการที่กำหนดก่อนใช้งาน (แขวนป้ายสีเขียว) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
ข้อปฏิบัติเบื้องต้นก่อนทำการติดตั้งนั่งร้าน
1. ศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดในใบอนุญาตการทำงานแต่ละพื้นที่
2. ทำการปิดกั้นบริเวณ ล้อมพื้นที่ที่ทำงาน พร้อมติดป้ายเตือน (ห้ามผ่านเข้า-ออก)
3. ทำการแขวนป้ายสีแดง เพื่อบอกสถานะในระหว่างการทำงาน
4. สวมใส่และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตลอดเวลา
5. เคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะที่ถูกต้องและระมัดระวังการพลัดตกจากที่สูง
6. สภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดตั้งในขณะนั้นต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมและสมบูรณ์
อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง แบบมาตรฐาน
1. Safety harness full body ( เซฟตี้ ฮาเนส ฟูลบอดี้ ) คือ อุปกรณ์ช่วยชีวิตการทำงานบนที่สูงได้มาตรฐานตามระบบงานติดตั้งนั่งร้าน ซึ่งประสิทธิภาพในการช่วยชีวิตได้สูงถึง 2 เท่า กล่าวคือ สายเซฟตี้เบ้ลท์ จะหน่วงเวลาในการช่วยชีวิตได้แค่ 90 วินาที แต่สายเซฟตี้ ฮาเนส สามารถหน่วงเวลาได้ถึง 15-20 นาที สรุปก็คือ สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลา ถึง 90 % จะต้องสวมใส่ตลอดเวลาและถูกต้องในขณะทำงาน
2. เชือกผูกอุปกรณ์-เครื่องมือในการทำงานบนที่สูง (Tooling ties) ช่างติดตั้งนั่งร้านที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วควรจะคำนึงถึง ความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากวัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือที่นำขึ้นไปติดตั้งนั่งร้านบนที่สูง เป็นอันดับแรก เครื่องมือที่ควรจะทำการผูกมัดหรือมีที่จัดเก็บเป็นอย่างดี คือ ประแจ , ระดับน้ำ ,คีมตัดลวด และอื่นๆที่เสี่ยงต่อการพลัดตกลงมาขณะการทำงาน
3. ถุงใส่อุปกรณ์การจับยึด (Coupler safety bags) เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่หน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับช่างติดตั้งนั่งร้านแบบมาตรฐานในการทำงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจับยึดทุกตัวนั้น ก่อนที่จะนำขึ้นไปบนที่สูงควรจะมีผูกมัดด้วยลวดหรือเก็บใส่ถุงเป็นอย่างดี ห้ามโยนโดยเด็ดขาด ก่อนที่จะนำถุงมาใช้งานให้ตรวจสอบมาตรฐานการบรรจุ (swl.)ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งตรวจสอบสภาพการใช้งานให้เรียบร้อย
4. อุปกรณ์เสริมพิเศษ (Crane / Manlift) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการติดตั้งนั่งร้านบนที่สูงโดยเฉพาะนั่งร้านแบบแขวน ทางผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานจะต้องทำการจัดเตรียมอุปกรณ์เสริมพิเศษเพื่อนำวัสดุ-อุปกรณ์และเครื่องมือในการติดตั้ง อย่างเช่น เครน , กระเช้าไฟฟ้า เป็นต้น
5. ตาข่ายนิรภัย (Safety nets) การทำงานบนที่สูงในแต่ละสถานที่ แต่ละแผนกงานนั้นจำเป็นที่สุดที่จะต้องมีการเตรียมการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกลงมาจากที่สูง ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือวัสดุต่างๆที่มีน้ำหนักมาก นั้นคือ การติดตั้งตาข่ายที่ความแข็งแรงเพียงพอต่อการรองรับน้ำหนักสิ่งต่างที่ตกลงมาจากที่สูง ในกรณีที่มีการทำงานบนที่สูงโดยที่ไม่ต้องใช้นั่งร้านนั้น ควรมีการติดตั้ง สลิงช่วยชีวิต (Life-line) ก่อน
ขั้นตอนและวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
การติดตั้งนั่งร้านแบบทั่วไป ( ภาคพื้นดิน )
1. ทำการวางผังและ โซลบอร์ด (Sole-board) แผ่นกระดานไม้ที่จะนำมาใช้เป็นแผ่นปรับระดับหน้าดินเป็นอันดับแรกนั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่แตก ไม่หัก ไม่บิ่นไม่ร้าว ควรมีขนาดที่กว้างไม่ต่ำกว่า 200 มม. และหนา ไม่ต่ำกว่า 25 มม. ส่วนด้านยาวนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของนั่งร้าน และจำนวนเสาของโครงสร้าง
2. วางแผ่นรองเสา (Base-plate) ลงบนแผ่นกระดานไม้โดยให้อยู่กึ่งกลางระหว่างขอบและหัวกระดาน ไม่ต่ำกว่า 100 มม. ทั้งสองฝั่งของแผ่นกระดาน ขนาดของแผ่นรองพื้นที่นำมาใช้ควรมีขนาด ไม่ต่ำกว่า 150 x 150 x 5 x 120 mm. ตามจำนวนของเสาและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
3. ทำการติดตั้งเสา (Standard / Post) นำทิ้วที่มีความยาวและความหนา วงในตามกำหนดไว้ ไม่ต่ำกว่า 3.5 มม. สวมลงกับก้านแผ่นรองพื้น ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆในรูของทิ้วซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการติดตั้ง การติดตั้งเสาควรคำนึงถึงการต่อเสา หมายถึงเสาจะต้องมีขนาดความยาวที่ต่างกัน เช่น นั่งร้านที่มีความสูง ไม่เกิน 6 เมตร สามารถใช้ทิ้วที่มีความยาว 6 เมตรได้เลย ถ้าสูงเกิน 6 เมตร จะใช้เสา 2 ขนาด คือ 4 กับ 6 เมตร ขึ้นอยู่กับการวางแผนของช่าง จะใช้ขนาดใดก่อน ต้องสลับกัน ระหว่างเสาต่อเสา ความหมายก็คือเวลาต่อเสาให้สูงขึ้น ข้อต่อที่นำมาใช้งานจะต้องไม่ตรงกัน
4. วางคานตัวแรก (Ledger) นำทิ้วตามขนาดความกว้างหรือความยาวของนั่งร้านที่ได้กำหนดไว้ แล้วนำแคล้มป์ล็อกจับยึดที่เสาต้นแรกก่อน โดยให้สูงจากแผ่นรองพื้น ไม่ต่ำกว่า 200 มม. และไม่เกิน 300 มม. แล้วนำทิ้วที่เตรียมไว้มาประกอบเข้ากับแคล้มป์พร้อมกันทั้งสองฝั่ง ทำควบคู่กันเสมอ ล็อกให้แน่น ด้านที่ติดอยู่กับต้นแรกเมื่อได้ระยะแล้วล็อกให้แน่นเพื่อเป็นแบบให้ฝั่งตรงข้าม ทำการตั้งและถ่ายระดับ
5. วางตงหลัก (Transom) เป็นส่วนของโครงสร้างที่ติดตั้งต่อเนื่องโดยจับยึดอยู่บนคานตัวแรก ตงหลักจะทำการจับยึดอยู่กับเสาเสมอ ในกรณีที่เป็นแคล้มป์ชนิดของมาตรฐาน Js ให้ใช้ทั้งหมด 3 ตัวในการยึดเพื่อให้เกิดความแข็งแรงต่อโครงสร้างตงจะมีจำนวนเท่ากันกับเสา
6. ติดตั้งค้ำยัน (Bracing) เมื่อทำการติดตั้งโครงสร้างฐานเสร็จแล้ว ทำการติดตั้งค้ำยัน เริ่มต้นจากเสาใดเสาหนึ่งก่อน แล้วทำการจับยึดกับเสาโดยใช้แคล้มป์หมุน ให้จับยึดสูงกว่าตงประมาณ 100 - 200 มม. ขันน็อตให้แน่น แล้วจับยึดกับอีกเสาต้นหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างถัดกันไป ในลักษณะบันไดวน รูปแบบของการค้ำยันมีอยู่หลายรูปแบบ เช่นแบบสลับฟันปลา แบบซิกแซก ส่วนมากก็จะใช้แบบซิกแซก แล้วทำการติดตั้งระดับของเสา ตามขั้นตอน
7. ชั้นวางฐานที่ 1 ทำการติดตั้งคานตัวที่สองโดยกำหนดให้ระยะความสูงเท่ากับ 1.80-2.20 เมตร โดยจับยึดจากเสาต้นใดต้นหนึ่งก่อน เพื่อถ่ายระดับไปยังเสาต้นอื่นๆอีกต่อไป
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากต่อการปรับระดับโครงสร้างพื้นฐานของนั่งร้าน จะต้องทำอย่างละเอียด ก่อนที่จะติดตั้งส่วนอื่นๆต่อไป ทุกส่วนจะต้องได้ระดับและยึดให้แน่น
8. ทำการวางตงหลัก เช่นเดียวกันกับขั้นตอนแรกที่ติดตั้งผัง แล้วถ่ายระดับไปยังเสาตรงข้ามเพื่อเป็นแบบสำหรับส่วนอื่นๆต่อไป
9. ทำการวางตงเสริม (Intermediate transom) ตงเสริมเป็นส่วนที่รองรับแผ่นปูพื้นไม่ให้แอ่นตัวเวลาที่มีอุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักตกกระทบบนพื้นนั่งร้าน ทั้งนี้ถ้านั่งร้านที่ต้องการปูพื้นแค่ชั้นเดียว ก็ทำการวางตงเสริมได้เลย แต่ถ้าไม่ต้องการให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป
10. ทำการวางแผ่นปูพื้น (Platform) แผ่นปูพื้นจะต้องมีขนาดความกว้างความยาวความหนาตามที่มาตรฐานกำหนด และเลือกใช้ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ถ้าเป็นประเภทที่เป็นไม้กระดาน จะมีขนาดตามมาตรฐานคือ หนาไม่ต่ำกว่า 25 มม และกว้างไม่ต่ำกว่า 200 มม. ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของนั่งร้าน ความยาวสุดของแผ่นปูพื้นไม่เกิน 4 เมตร รวมทั้งที่เป็นแบบโลหะด้วย พร้อมกับผูกมัดลวดให้แน่นทุกแผ่น
11. ทำการใส่ราวกันตก (Guardrail) ระยะห่างของราวกัน เท่ากับ 1.10 เมตร (55+55 ซม.) หรือวัดระดับได้ง่ายๆคือ หัวเข่า และบั้นเอว โดยรอบบริเวณ บริเวณที่เป็นทางขึ้นบันได ให้ใส่แค่ด้านบนเท่านั้น
12. ทำการติดตั้งบันไดพร้อมช่องบันได (Ladder) บันไดนั่งร้านนับว่ามีความสำคัญต่อการอำนวยความสะดวกของผู้ติดตั้งและผู้ใช้บริการ โดยให้มีความลาดเอียงเท่ากับ 75 องศา และเหลือปลายของบันไดไว้ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ บันไดเป็นส่วนสำคัญของทุกโครงสร้างของนั่งร้านจะต้องติดตั้งทันที เมื่อได้ความสูงเกิน 3 เมตรขึ้น นั้นหมายถึงการขนถ่ายขึ้น-ลงของวัสดุ-อุปกรณ์รวมทั้งผู้ติดตั้งจะต้องผ่านทางบันไดเป็นส่วนมาก ไม่ว่ากรณีใดๆจะต้องขึ้น-ลงทางบันไดเท่านั้น
13. ทำการติดตั้งแผ่นกั้นกันตก (Toe board) โดยรอบพื้นที่ของการทำงาน
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการติดตั้งนั่งร้าน แผ่นกั้นที่นำมาใช้ควรมีขนาดที่พอเหมาะกับขนาดความกว้าง-ความยาวของนั่งร้านและแข็งแรงพอสมควร
รายการตรวจสอบความสมบูรณ์ของนั่งร้าน
เมื่อนั่งร้านทำการติดตั้งเสร็จแล้ว พร้อมที่จะใช้งาน หัวหน้างานจะทำการติดต่อให้ผู้มีหน้าที่(ระดับวิศวกรโยธาฯ ชั้นวุฒิบัตร)ตรวจสอบความสมบูรณ์แบบของนั่งร้าน มาทำการตรวจสอบตามรายการดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบกระดานแผ่นพื้นที่รองรับแผ่นรองเสา จะต้องอยู่ในสภาพที่ไม่แตกหักแข็งแรงต่อน้ำหนักที่กดทับลงมาที่แผ่นรองเสา แล้วถ่ายน้ำหนักไปยังแผ่นกระดานไม้ ความหนาของกระดานไม่ต่ำกว่า 25 มม.
2. ระยะห่างของเสาแต่ละต้น กำหนดให้ไม่เกิน 2.5 เมตร (มาตรฐานจะอยู่ที่ระหว่าง 1.5-2.00 เมตร) และได้ระดับความเที่ยงตรงตลอดแนว
3. ระยะห่างของคานล่างตัวแรก ต้องอยู่ในการเว้นช่องที่เหมาะสมกับตงหลัก
4. ตัวค้ำยันที่อยู่ในลักษณะทแยงมุมได้องศา จะต้องใช้แคล้มป์หมุน ทั้งสองด้าน
5. ตรวจสอบแคล้มป์ที่ยึดอยู่ในส่วนที่สำคัญของนั่งร้าน จะต้องหมุนเกลียวล็อกให้แน่นแนบสนิทกับผิวของทิ้วเสาและคาน สามารถรองรับน้ำหนักที่จะเกิดขึ้นบนนั่งร้านได้ทุกระยะ 40 ตารางเมตร (กว้าง x ยาว x สูง)
6. ตรวจสอบแผ่นปูพื้น ต้องผูกมัดด้วยลวดที่ได้ผ่านการอนุญาตให้ใช้อย่างแน่นหนา และแนบสนิทชิดกัน แผ่นกั้นกันตกต้องแนบสนิทกับแผ่นปูพื้นไม่มีช่องว่าง รวมทั้งราวกันตกด้วยจะต้องได้มาตรฐานตามกำหนด
7. ตรวจสอบการใช้อุปกรณ์การจับยึดจะต้องแน่นทุกตัวไม่ว่าจะเป็นข้อต่อ ตัวล็อกคานตงหรือตงเสริม,ตัวล็อกบันได ทุกส่วนของนั่งร้านที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้
8. ตรวจสอบพื้นที่ใช้งาน สามารถรองรับน้ำหนักอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปใช้งานบนพื้นที่ของนั่งร้านได้ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
9. ตรวจสอบการจับยึดตัวบันไดเข้ากับตัวนั่งร้าน จะต้องแน่นหนาและได้องศาของความลาดเอียง เท่ากับ 75 องศา ขึ้นลงได้สะดวก ไม่โยก ไม่สั่นคลอนและจะต้องเหลือปลายบันได้ไว้เท่ากับ ไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เรารักในหลวง
เรารักในหลวง
พระองค์ คือพ่อหลวง ของปวงราษฎร์
ใต้ฝ่าบาท ขอน้อมนำ คำถวาย
เทิดพระองค์ ทรงเจริญ พระวรกาย
ชนชาวไทย พร้อมใจนำ คำสดุดี
ธ คือแผ่นฟ้า มหาสมุทร
เปรียบประดุจ ผู้เกรียงไกร ในปฐพี
เปรียบประหนึ่ง ซึ่งผู้ให้ ไท ชีวี
นำเสรี สู่เอกราช เป็นชาติไทย
พระเสโท หยาดหยด รดแผ่นพื้น
เพื่อให้ฟื้น ทั่วแผ่นดิน ทำกินได้
ปรัชญา ถ้าเหลือเก็บ แล้วค่อยจ่าย
เพียงพอใน ที่ตนมี วิถีเทอญ
สายพระเนตร ทอดไกล ให้สำนึก
ให้รู้สึก ให้มองตาม ยามขาดเขิน
ให้รับรู้ ยามลำบาก ยากเหลือเกิน
เผื่อบังเอิญ ยามป่วยไข้ ได้บรรเทา
ขอพระองค์ ทรงอยู่ คู่ลูกหลาน
ภูมิบาล สถิตย์ใน ไทยทุกเหล่า
เป็นมิ่งขวัญ เป็นพลัง หลั่งล้นเกล้า
ข้าพระพุทธเจ้า แรงงานไทย เทิดสดุดี
..........................................................................
บทประพันธ์อันประณีตแห่งจิตสำนึกของ
นาย กตัญญู ชนะชัย ที่ประเทศ กาตาร์
ตำแหน่ง ซุบเปอร์ไวเซอร์ งานติดตั้งนั่งร้าน
อยากให้ทุกคน..ดำเนินชีวิตตามรอยของพ่อหลวงของเรานะครับ
(วันพุธ ที่ ๕ เดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙)
.....................................................................................................................
.....................................................................................................................
พระคุณแม่..ในใจฉัน
พระคุณแม่...ในใจฉัน
แม่คือใคร สำคัญใด ใครก็รู้ แม่คือครู ผู้ฝึกสอน ป้อนภาษา
แม่คือหนึ่ง ซึ่งอาทร ป้อนข้าวปลา คือผู้ซับ...น้ำตา... ถ้างอแง
จะหาใด ไหนเล่า เทียบเท่าได้ จะหาใคร ไหนเล่า เทียบเท่าแก่
รักเท่าฟ้า เท่าเท่ากัน มิผันแปร คือรักแท้ ดุจสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์
ณ ยามใด ที่เราท้อ ใจห่อเหี่ยว คือหนึ่งเดียว ที่เราหวัง ฝังใจถึง
คือหนึ่งเดียว ที่ฝังใจ ให้คำนึง คือที่พึ่ง พาอาศัย กล่อมใจนอน
คงจะยาก หากเราคิด จิตเป็นอื่น คงจะตื่น นอนไม่หลับ จับใจหลอน
คงแก่กรรม คงแก่บาป ตราบกองฟอน เมินคำสอน เมินคุณแม่ ไม่แลดาย
มีหน้าตา มีหน้าที่ ดีดั่งหวัง อย่าลืมหลัง กำพืดเก่า คือเป้าหมาย
อย่าลบหลู่ ลืมเหลียวแล ให้แก่ตาย ชีพวอดวาย เพราะลืมบุญ คุณแม่เรา
..........๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙...............
ขอหนุนตักแม่ ตราบชีพชั่วนิรันดร์
บทประพันธ์อันล้ำค่า ของ กตัญญู ชนะชัย (ปัญญาชน..คนบ้านผือ)
Thu 200472 (01/08/2010)
ป้ายกำกับ:
พระคุณแม่
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ทดสอบงานช่างเชื่อม
We have support for Kharafi National Corporation to testing Welder
ติดต่อเรียนหรือทดสอบงานช่างเชื่อมและงานสาขาช่างอื่นๆ
เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ได้ที่ 02-9945418 / 02-9986373
ลำลูกกา คลอง 4 ปทุมธานี
ป้ายกำกับ:
welder
ศักยภาพของเรา
เราเตรียมพร้อมเสมอในการรองรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
เพื่อพัฒนาด้านฝีมือช่างไทยสู่ตลาดแรงงานโลก ทุกสาขาช่าง
เรายินดีต้อนรับทุกท่าน ทุกการเยี่ยมเยือน ทุกหน่วยงานการศึกษด้วยไมตรีอันดียิ่ง
ตัวอย่างที่ท่านเห็นคือการฝึกงานบางส่วนของงานช่างด้านเทคนิคการก่อสร้าง
การเยี่ยมเยือนครั้ง 2 จากราชอณาจักร กัมพูชา
หลังจากที่เราได้รับการเยี่ยมเยือนจาก สปป.ลาว แล้วเราก็ได้มีโอกาสต้อนรับคณะรัฐบาลราชอณาจักรกัมพูชา การหารือครั้งนี้ก็มีใจความสำคัญเช่นเดียวกันในส่วนของการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างสู่ตลาดโลกของประเทศเพื่อนบ้าน บรรยากาศในการพูดคุยระหว่างเรากับตัวแทนของราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นไปอย่างกันเอง เพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกันทางเราพร้อมเสมอที่จะรับฟังและปรับปรุงแก้ไขในส่วนทีขาดหายไป เพื่อรองรับการพัฒนา ณ โอกาสต่อไป
ป้ายกำกับ:
Visitor
การเยี่ยมเยือน ครั้งที่ 1 จาก สปป.ลาว
เมื่อกลางปี 2551 สถานทดสอบฝีมือแรงงาน เคทีซี ได้มีโอกาสรองรับการเยี่ยมเยือนของ
คณะรัฐบาลกระทรวงอุตสาหกรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชน ลาว อย่างเป็นทางการ
ในวาระนี้ก็มีฝ่ายการต้อนรับให้ความสำคัญในหัวข้อการประชุม การหารือร่วมกันในแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับฝีมือด้านแรงงานช่างทุกสาขา ทั้งนี้สถานทดสอบฝีมือแรงงาน เคทีซี ได้แสดงถึงศักยภาพของสถานที่ต่อการมาเยือนครั้งนี้ เพื่อชี้เห็นให้เห็นว่า เราตระหนักและเตรียมพร้อม เพื่อรองรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติจากทุกๆหน่วยงานตามความประสงค์เสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ วัสดุ / อุปกรณ์ / เครื่องมือ สภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคครบถ้วนบริบูรณ์ ฉะนั้นทางเราหวังเป็นอย่างย่งที่จะได้มีโอกาสต้อนรับทุกท่านที่มาเยือนครั้งนี้ ณ โอกาสต่อไป
ป้ายกำกับ:
ผู้มาเยือน
วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สถานทดสอบฝีมือแรงงาน เคทีซี
โรงเรียนช่างฝีมือไทย / สถานทดสอบฝือแรรงาน เคทีซี
ติดต่อและสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่
คุณ สาลินี / ฝ่ายงานทะเบียน
คุณ กตัญญู / หัวหน้าทดสอบงานด้านช่างเทคนิค (Construction)
คุณ ชัชวาล / Welding Inspector / Tester
คุณ ชัชวาล / Welding Inspector / Tester
ktctestingcenter@gmail.com
k4chanachai@yahoo.co.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)